ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ชุดครัวนำเข้าของผู้บริโภค

ผศ.ดร.ภักดี มะนะเวศ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ชุดครัวนำเข้าของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง จากการสุ่มตัวอย่างแบบอาศัยความน่าจะเป็น สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test (Independent t-test) สถิติ F-Test (Indepemdent sample F-Test) และ LSD (Least significant difference).

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-55 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาโทหรือสูงกว่า ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 100,001-150,000 บาท ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยส่วนบุคคล มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ชุดครัวนำเข้าโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยด้านพฤติกรรมผู้บริโภค ได้แก่ วัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อ คุณสมบัติสำคัญที่สุดของสินค้า ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อ และการซื้อซ้ำ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ชุดครัวนำเข้าโดยรวมทุกด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริโภคในด้านช่วงเวลาที่เดินเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ชุดครัวไม่แตกต่าง ส่วนการตัดสินใจซื้อเฟอร์นิเจอร์ชุดครัวนำเข้าโดยรวม ให้ระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มากที่สุด คือ ด้านพฤติกรรมในการเลือกซื้อ ให้ระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาต่อเป็นรายข้อ มากที่สุดคือ เฟอร์นิเจอร์ชุดครัวนำเข้ามีรูปแบบตรงตามที่คาดหวัง

 


Keywords


การตัดสินใจ, ชุดครัว, เฟอร์นิเจอร์ชุดครัวนำเข้า

Full Text:

Untitled

References


กรุงเทพธุรกิจ. (2557).หน่วยประชาสัมพันธ์และการตลาด วิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล. ฉบับวันที่ 21 ตุลาคม 2556, หน้า 5. คอลัมน์ Business model idea. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 11, 2557, จาก http://www.cmmu.mahidol.ac.th.

ฐิตินันท์ วารีวนิช.(2551). การจัดการและการตลาดบริการ.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ:บริษัทส. เอเชียเพรส (1986).

ณัฐริชา สำอางกุล.(2547).ปัจจัยทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ของผู้บริโภค ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.การศึกษาปัญหาพิเศษ ปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สุวีรยสาสน์.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2556).อาร์ซีดี" เปิดตัวชุดครัว. updated:วันที่ 24 เม.ย 2556 สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 19, 2557, จาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1366795628.

ปิยพัฒน์ ภิภพสุขาวดี. (2545). คุณสมบัติของเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2546). เอกสารคำสอนระเบียบวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. ปัตตานี:

ฝ่ายเทคโนโลยีการศึกษา สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.

กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

วิจิตรา สุนทรสมัย. (2544). พฤติกรรมผู้บริโภค. คณะวิทยาการการจัดการ. ราชบุรี: สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

สาคร คันธโชค. (2528). การออกแบบเครื่องเรือน.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ศุภนารี สุธารส. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดค้าปลีกที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ไม้สักในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2554). แนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินไทยปี2555.สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 30, 2557, จาก www.kasikornresearch.com.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). การตลาดจากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.กรุงเทพฯ: วีพริ้น(1991).

สุดา ดวงเรืองรุจิระ. (2543). หลักการตลาด. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพมหานคร.

สตาร์มาร์ก.(2556). บทสัมพาษณ์ดีไซเนอร์.นิตยสารโฮมแอนด์เดคคอร์. วันที่ 10 กรกฎาคม 2556. สืบค้นเมื่อพฤศจิกายน 9, 2557, จากhttp://www.starmark.co.th.

Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. Englewood .

Newman, William H. and Charles E. Summer, Jr. (1977). The process of management. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

NopsakonSeemanachaisit. (2550). ความเป็นมาและความสำคัญของเฟอร์นิเจอร์. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 28, 2557, จาก http://nopsakon-net.blogspot.com/2007/03/1.html.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง