ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับการแสดงพฤติกรรม การเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

สรสุดา ชูกลิ่น

Abstract


การวิจัยเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับการแสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ความพึงพอใจในการทำงานกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีโดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีสายสนับสนุนซึ่งสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 132 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่าระดับความคิดเห็นต่อความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความรู้สึกภาคภูมิใจและปลาบปลื้มในผลสำเร็จของงาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ผลการวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ในรายด้านด้านความสำนึกในหน้าที่ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ความพึงพอใจภายนอกงานโดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และพบว่าความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์กับการแสดงพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 


Keywords


ความพึงพอใจในงาน , พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี , อิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรม

Full Text:

Untitled

References


ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสอาร์แอนด์ดี.

พิสชา โสมดี. (2544). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้เครื่องทำรายการทางบัญชีอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) ของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชาดา บัวทองสุข. (2553). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมใช้บริการธนาคารทางอินเตอร์เน็ต ของลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษากรมการพัฒนาชุมชนศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50, 179-211.

Chandio, F. (2011). Studying Acceptance Of Online Banking Information System : A Structural Equation Model. Thesis The Degree of Doctor of Philosophy, Brunel University London.

Chuttur, M. (2009). Overview of the Technology Acceptance : Origin, Developments and Future Directions. Indiana University, USA. Sprouts: Working Papers on Information Systems, 9(37).

Davis, F. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13(3), 319.

Kigongo, N. (2011). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, Behavioural, Intention to Use and Actual System Usage in Centenary Bank. Thesis the Master Degree, Makerere University.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2012). Principles of Marketing (14 th ed.). United States of America: Pearson Education, Inc.

Kotler, P. (2002). Marketing Management, MilleniumEdition (10 th ed.). United States of America: Prentice-Hall, Inc.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง