ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาค่านิยมในระบบราชการของบุคลากร สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ละอองดาว นาทา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาค่านิยมในระบบราชการของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี ตามแนวคิดของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาค่านิยมในระบบราชการของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี และ 3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทาง การพัฒนาค่านิยมในระบบราชการของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานส่วนตำบล ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามแบบปลายเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และสถิติอ้างอิง คือ t - test และ One - way ANOVA  และกำหนดให้มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า บุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาค่านิยมในระบบราชการตามแนวคิดของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยระดับความคิดเห็นที่มีต่อแนวทาง การพัฒนาค่านิยมในระบบราชการของบุคลากร พบว่า  ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพทางครอบครัว ประสบการณ์ทำงาน ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาค่านิยมในระบบราชการของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน และปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาค่านิยมในระบบราชการของบุคลากร ควรส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะในการทำงาน (Competency Model) ซึ่งเป็นเครื่องมือบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารทุกระดับสามารถนำมาใช้ในการสรรหา รักษา และพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะและความสามารถและบุคลิกลักษณะเฉพาะตรงตามที่ตำแหน่งกำหนด เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ตามผลตามที่คาดหวังไว้ และส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยยึดหลัก การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ (Good Governance) ตามหลักธรรมาภิบาล

 

Keywords


การพัฒนาค่านิยม , ระบบราชการ

Full Text:

Untitled

References


ชนกสุดา ธนศักดิ์. (2551). กระบวนทัศน์ วัฒนธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์กับแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2555) : กรณีศึกษา สำนักงาน ก.พ.ร. ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารจัดการสาธารณะ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประสิทธิ์ การถลาง และคณะ. (2550). การสร้างบรรยากาศ และวัฒนธรรมในการทำงานที่ดีของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. สถาบันดำรงราชานุภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

สุจิตรา ดิษธรรม. (2552). อำนาจพยากรณ์ของแรงจูงใจในการทำงาน ความเชื่ออำนาจภายในตนและค่านิยมในการทำงาน ต่อพฤติกรรมการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดีตามตัวแบบ “I AM READY”. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุนทร ทับแนบ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของข้าราชการและพนักงานจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง