บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่อง เวอร์เนียร์คาลิเปอร์และไมโครมิเตอร์

ระวิพรขนิษฐ์ สนิทพ่วง

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์เรื่องเวอร์เนียร์คาลิเปอร์และไมโครมิเตอร์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์เรื่องเวอร์เนียร์คาลิเปอร์และไมโครมิเตอร์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่องเวอร์เนียร์คาลิเปอร์และไมโครมิเตอร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามเจตคติของผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาวิชาช่างยนต์วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี จำนวน 19 คน จากการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่องเวอร์เนียร์คาลิเปอร์และไมโครมิเตอร์ ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.55/81.32 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ผู้เรียนที่เรียนผ่านบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเจตคติของผู้เรียนที่มีดีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่องเวอร์เนียร์คาลิเปอร์และไมโครมิเตอร์สามารถสรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์เรื่องเวอร์เนียร์คาลิเปอร์และไมโครมิเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นบทเรียนที่มีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการเรียนรู้ด้วยตนเองได้

Keywords


จำลองสถานการณ์, เวอร์เนียร์คาลิเปอร์, ไมโครมิเตอร์

Full Text:

Untitled

References


กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์. (2528). การเลือกใช้สื่อการสอน. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชลอ การทวี. (2556). งานฝึกฝีมือ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: เอมพันธ์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2540). ชุดการสอนรายบุคคล. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2533). “การประเมินผลสื่อการสอน”. จุลสาร คพศ, สปช., หน้า 23-29.

พัฒน์ชัย พรมทา. (2556). งานฝึกฝีมือ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: รัตนโรจน์การพิมพ์.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล. (2543). เทคนิคการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ

________. (2546). การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน สำหรับ e-Learning. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ. (2553). คู่มือการสร้างแบบจำลองด้วยโปรแกรม Arena. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศุภกฤษ กิ่งไทร. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบจำลองสถานการณ์ เรื่องงานเจาะและงานทำเกลียว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต วิศวกรรมอุตสาหการ, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

สัญชัย นครไทยภูมิ. (2556). วัดละเอียด (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักพิมพ์เอมพันธ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: แผนกวิชาการพิมพ์ วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). ยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในช่วงการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ. 2552-2561 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). ความหมายของสถานการณ์จำลององค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุชา ศรีธรรมมา. (2541). การสร้างอุปกรณ์เพื่อใช้ในการจำลองสถานการณ์การฝึกทักษะงานพ่นสี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต เครื่องกล, ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง