พฤติกรรมในการเข้าชมและติดตามเว็บไซต์ 3 แบรนด์: Lazada TH, Shopee TH และ 11Street TH ของประชากรในกรุงเทพมหานคร

ดารุวรรณ์ พลาชัย

Abstract


วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเข้าชมและติดตามเว็บไซต์ 3 แบรนด์ คือ Lazada TH, Shopee TH และ 11Street TH ในเขตกรุงเทพมหานคร ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า เหตุผลของผู้เข้าชมและติดตามเว็บไซต์ทั้ง 3 เว็บไซต์ เนื่องจากเป็นเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก มีจำนวนสินค้าให้เลือกหลากหลาย ราคาถูกและมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจ มีการแยกหมวดหมู่สินค้าแต่ละหมวด เว็บไซต์มีการอัพเดตสินค้าใหม่ ๆ ตลอดเวลาชัดเจนค้นหาง่าย มีโปรโมชั่นที่น่าสนใจต่อเนื่อง ชำระค่าสินค้าง่ายและจัดส่งรวดเร็ว ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเข้าชมและติดตามเว็บไซต์ทางโทรศัพท์มือถือเนื่องจากสะดวก พกพาง่าย รวดเร็ว ช่วงเวลาเข้าชมและติดตามเว็บไซต์คือเวลา 18.00 น. ซึ่งเป็นเวลาหลังเลิกงาน กลับบ้าน เป็นเวลาพักผ่อน คลายเครียด ไม่ต้องกังวล สินค้าประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเป็นสินค้าที่มีคนเข้าชมและติดตามมากที่สุดและผู้บริโภคตัดสินใจสั่งซื้อสินค้าด้วยตนเอง


Keywords


พฤติกรรมการเข้าชมและติดตามเว็บไซต์ ลาซาด้า , ช้อปปี้ , อีเลฟเว่นสตรีท

Full Text:

Untitled

References


กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2560). ข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยต่อหนึ่งวัน. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ มกราคม 8, 2561, จาก https://www.etda.or.th/tha/lndex.html.

_______. (2560). ข้อมูลมูลค่าอีคอมเมิร์ซปี 2557-2559 และคาดการณ์ปี 2560. [ออนไลน์]. สืบค้น มกราคม 8, 2561, จาก https://www.etda.or.th/tha/lndex.html.

ชนนิกานต์ จุลมกร. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตของนิสิตระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาศาสตรบัณฑิต สถิติ, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนาศักดิ์ ข่ายกระโทก. (2559). ศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคจังหวัดอุบลราชธานี.ใน สัมมนาทางวิชาการการวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน (1189-1200). อุบลราชธานี: มหาลัยราชธานี.

วราวุฒิ อภัยพงค์. (2556). ศึกษาเรื่องพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการผ่านระบบพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประชาชนวัยทำงาน เขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อำพล นววงศ์เสถียร. (2557). ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจผู้บริโภคในร้านค้าออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บริหารธุรกิจ, คณะบริหารธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

Iprice. (2560). การเข้าไปชมเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและผู้ติดตามในประเทศไทยต่อเดือน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 17, 2561, จาก https://techeauce.co.th-and-biz/the-map-of-ecommer-2017.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง