องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันตก

ชิรยุตน์ วงศ์ยุทธรัตน์

Abstract


การวิจัยนี้ศึกษาเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะสำหรับศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันตก และ 2) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) ของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันตกโดยใช้แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 906 คน โดยพิจารณาจากค่าไอเกนในแต่ละองค์ประกอบหลักสกัดปัจจัยโดยหมุนแกนออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เพื่อยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพเพื่อหา ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานและนำค่าเฉลี่ยมาทดสอบ (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ภาคตะวันตก มี 9 องค์ประกอบ 88 ตัวบ่งชี้ คือ ดังนี้ 1) การติดต่อสื่อสาร 2) คุณธรรมจริยธรรม 3) วิสัยทัศน์ 4) การปฏิสัมพันธ์ 5) ความยั่งยืน 6) ความรอบรู้ 7) การสร้างคน 8) การตัดสินใจ 9) การเปลี่ยนแปลงมีค่าความเที่ยงตรง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.964 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจโดยพิจารณาจากค่าไอเกนในแต่ละองค์ประกอบหลักสกัดปัจจัยโดยหมุนแกนออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ได้องค์ประกอบใหม่ 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านการเป็นนักวางแผน 2) ด้านทักษะทางสังคม 3) ด้านการสร้างคน 4) ด้านความรอบรู้ 5) ด้านการประพฤติปฏิบัติตน 6) ด้านการพัฒนาตนเอง 7) ด้านการตัดสินใจ 8) ด้านความยืดหยุ่น 9) ด้านการเปลี่ยนแปลง 10) ด้านการบริหารเชิงสถานการณ์ 11) ด้านวิสัยทัศน์ 12) ด้านการแก้ไขปัญหาและได้ตัวบ่งชี้ใหม่ 78 ตัวบ่งชี้ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 61.859 ผลการวิเคราะห์ เพื่อยืนยันความเที่ยงตรงตามสภาพ พบว่า มีค่าเฉลี่ย () อยู่ระหว่าง 4.07 - 4.73 และเมื่อนำค่าเฉลี่ยมาทดสอบ (t-test) โดยการเปรียบเทียบระดับค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์ประเมินค่าที่ระดับมาก (= 3.50) ตามการแปลความหมายค่าเฉลี่ยอิงเกณฑ์ (Criterion Concurrent Validity) พบว่าค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างจากเกณฑ์ระดับมากทุกตัวบ่งชี้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


Keywords


การติดต่อสื่อสาร , การสร้างคน , การเปลี่ยนแปลง

Full Text:

Untitled

References


ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559. กาฬสินธุ์:คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2559). การจัดการศึกษา 4.0 กับการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อกรกฎาคม 21, 2560, จาก http://adacstou.wixsite.com/adacstou/singlepost/2017/09/01.

พรชัย เจดามาน. (2559). บทความสมรรถนะแห่งตน : การพัฒนาตนเองของบุคลากรการศึกษาที่ก้าวทัน การเปลี่ยนแปลงในทศวรรษที่ 21. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 25, 2560, จาก http://personnel.obec.go.th/home/wp-content/uploads/2016/05.pdf?module=upload_config%22.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2560). การบริหารการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์. 28(2), พฤษภาคม - สิงหาคม 2560.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 4. (2558). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 24, 2560, จาก http://www.reo4.moe.go.th/web/images/stories/startegy/7.pdf.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจาเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ และคณะ. (2555). ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา. สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมหาพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

โสภณ ภูเก้าล้วน. (2559). ความสำคัญของการรักษาดุลยภาพ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 9 ,2560, จาก https://www.siamrath.co.th/n/2892.

Bersin, J. (2012). It’s not the CEO, It’s the leadership strategy that matter. Forbs Magazine.

Best, J. W. (1978). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Bohlander, G., Snell, S. & Sherman, A. (2001). Managing Human Resources (12 th ed.). Ohio: South– Western College.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607 – 610.

Meister, J.C. (2010). The 2020 Leadership Model for Tomorrow’s workplace. Harper Collins Publish.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง