แนวทางการส่งเสริมสวัสดิการแรงงานนอกระบบในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

กมลพร สันทัดสำรวจการณ์

Abstract


       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับข้อมูลสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบันและความต้องการสวัสดิการของแรงงานนอกระบบในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2) เปรียบเทียบข้อมูลสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบันของแรงงานนอกระบบในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำแนกตามกลุ่มอาชีพ 3) ศึกษาแนวทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการมาตรฐานให้แก่แรงงานนอกระบบในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยมีกลุ่มตัวอย่างแรงงานนอกระบบในเขตพื้นที่ที่ศึกษา จำแนกตามกลุ่มอาชีพ จำนวน 120 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าเอฟ

       ผลการวิจัยพบว่า สวัสดิการที่แรงงานนอกระบบได้รับในปัจจุบันโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเป็นไปตามลำดับคือ ด้านความปลอดภัย ด้านสุขอนามัย ด้านเศรษฐกิจ ด้านความมั่นคงและด้านการศึกษา ในส่วนความต้องการสวัสดิการของแรงงานนอกระบบ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเป็นไปตามลำดับคือ ด้านความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ ด้านความปลอดภัย ด้านสุขอนามัยและด้านการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลสวัสดิการที่ได้รับในปัจจุบันของแรงงานนอกระบบในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเพื่อพิจารณาตามกลุ่มอาชีพ พบว่า กลุ่มการผลิตได้รับสวัสดิการแตกต่างกับกลุ่มการค้าและกลุ่มการเกษตร และกลุ่มการค้าได้รับสวัสดิการแตกต่างจากกลุ่มบริการ และกลุ่มการเกษตรได้รับสวัสดิการแตกต่างจากกลุ่มบริการ และแนวทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการให้แก่แรงงานนอกระบบในเขตพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี หน่วยงานภาครัฐควรดำเนินในแต่ละด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ควรให้ความรู้ในเรื่องการคุ้มครองและสิทธิสวัสดิการขั้นพื้นฐาน ด้านความมั่นคง ควรมีการจัดตั้งกองทุนออมทรัพย์ กองทุนประกันสังคมและเงินโบนัสประจำปี ด้านการศึกษา ควรให้ความรู้ในด้านกฎหมายแรงงานและส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงานโดยการฝึกอบรมระยะสั้น ด้านความปลอดภัย ควรคำนึงถึงชีวอนามัย ความเหมาะสมของสถานที่ทำงาน มีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์ ครุภัณฑ์และจัดเตรียมอุปกรณ์การป้องกันอันตรายให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา

Keywords


แนวทางการส่งเสริม, สวัสดิการ, แรงงานนอกระบบ

Full Text:

Untitled

References


จิรวัฒน์ เต็มดวง. (2548). ปัญหาทักษะในการปฏิบัติงานและความต้องการในการฝึกอบรบของพนักงาน บริษัท ไทยคิคูวา อินดัสทรีส์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ชวลิต สละ. (2551). หลักเศรษฐศาสตร์แรงงานเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล ธูปทองหลวง. (2554). การจัดสวัสดิการแรงงาน : กรณีศึกษา บริษัท ชโย คอลเลคชั่น แอนด์ลอว์ จำกัด. การศึกษาอิสรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณิชพัณณ์ ศิรวัฒน์ชัยดล. (2553). ความต้องการสวัสดิการแรงงานนอกเหนือจากที่กฎหมายแรงงานกำหนด กรณีศึกษา: ลูกจ้างองค์การบริหารการปกครองส่วนตำบลบางปะกง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต การจัดการทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภัทราภรณ์ ฮุงหวล. (2558). ความพึงพอใจในการจัดสวัสดิการที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข: กรณีศึกษาโรงพยาบาลบางบัวทอง. วารสารวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 26(1), มกราคม - เมษายน 2558.

มณฑาทิพย์ วุฒิ. (2553). ยุทธศาสตร์การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบล

อรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิตยุทธศาสตร์การพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เมธี ศาสตร์สาระ. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจด้านสวัสดิการของพนักงานบริษัท นิโปร (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วรรณา ธีรธรรมธฤดี. (2550). ความพึงพอใจของที่ปรึกษาธุรกิจ : กรณีศึกษา บริษัท ออริเฟลม คอสเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สกล บุญสิน. (2557). เอกสารประกอบการบรรยายเรื่อง นโยบายแรงงาน. เชียงใหม่ :คณะรัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุชุกร เหมือนเดช. (2552). ความต้องการในการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Handley, W. (1969). Industrial Safety Handbook. London: McGraw-Hill.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง