ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความสามารถตนเอง การกำหนดเป้าหมาย บุคลิกภาพเชิงรุก กับประสิทธิผลในการทำงาน ของพนักงานสถาบันการเงินแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

อรอุมา บัวทอง

Abstract


    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความสามารถตนเอง การกำหนดเป้าหมาย และบุคลิกภาพเชิงรุกกับประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานสถาบันการเงินแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สามารถแยกแยะความมีประสิทธิผลในการทำงานของพนักงาน สถาบันการเงินแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานฝ่ายบริหารอาคารและงานกลาง ของสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 107 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล และแบบสอบถามปัจจัยที่สัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการทำงานจำนวน 3 ปัจจัย อันได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง แบบสอบถามบุคลิกภาพเชิงรุก และแบบสอบถามความมีประสิทธิผลในการทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์จำแนกกลุ่ม (Discriminant analysis)

    ซึ่งผลการวิจัย พบว่า การรับรู้ความสามารถตนเองมีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการทำงาน ส่วนการกำหนดเป้าหมาย และบุคลิกภาพเชิงรุกไม่มีความมีความสัมพันธ์กับความมีประสิทธิผลในการทำงาน และปัจจัยทั้งหมดสามารถแยกแยะความมีประสิทธิผลในการทำงานได้ถูกต้อง ร้อยละ 67.3


 


Keywords


พนักงานสถาบันการเงิน, ความมีประสิทธิผลในการทำงาน, การรับรู้ความสมารถตนเอง, บุคลิกภาพเชิงรุก

Full Text:

Untitled

References


กัลยา วานิชย์บัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรรยพร สุรัตนชัยการ. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของพนักงานบริษัทแม่กลองฟู้ดส์ จำกัด. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต การจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิตรลดา สุภานันท์. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะผู้นำแบบปฏิรูป การรับรู้ว่าตนมีความสามารถที่จะทำได้ แรงจูงใจภายในในการปฏิบัติงานของผู้ตาม และความพึงพอใจในงานโดยรวม : กรณีศึกษา ทำเนียบองคมนตรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จิรพรรณ พรเลิศประเสริฐ. (2556). บุคลิกภาพเชิงรุก การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ : กรณีศึกษาพนักงานบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ใช้ระบบโลจิสติกส์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. งานวิจัยส่วนบุคคล จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัชชามน แสวงสุข. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง บุคลิกภาพ พฤติกรรมการจัดการและความสำเร็จในอาชีพของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทศพร เวชศิริ. (2551). การรับรู้ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และประสิทธิผลในการทำงานแบบกลุ่ม : กรณีศึกษาพนักงาน บริษัท ไทยเมอร์รี่ จำกัด. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธนิตา สมบูรณ์. (2550). การตั้งเป้าหมายส่วนบุคคล ความสำเร็จในอาชีพ การปรับตัวหลังเกษียณและความพึงพอใจในชีวิตของวุฒิอาสาธนาคารสมอง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาชุมชน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธิดา ศิริ. (2551). โปรแกรมการสร้างพลังร่วมกับการตั้งเป้าหมายเพื่อปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จังหวัดตาก. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

นทีรัย เกรียงชัยพร. (2552). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพตามแนวคิดห้าองค์ประกอบของคอสตาและแมคเคร เชาวน์อารมณ์ตามแนวคิดของโกลแมนกับการรับรู้ประสิทธิภาพทีมงาน : กรณีศึกษา : พนักงานการประปาส่วนภูมิภาค. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิภากร หนูพันธ์. (2550). อิทธิพลของปัจจัยด้านงาน และการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อความเครียดของเจ้าพนักงานเรือนจำของเรือนจำในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นุชนารถ อยู่ดี. (2545). ลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษาองค์การเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปาริชาติ พรมชัย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทั่วไปทางสมอง บุคลิกภาพเชิงรุกกับผลการปฏิบัติงาน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรพิศ พาริยะชาติ. (2550). อิทธิพลของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีต่อความเครียดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กองบังคับการตำรวจนครบาล. ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรศิริ พิพัฒนพานิช. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะนิสัย 7 ประการของบุคคลที่มีประสิทธิผลในการทำงานตามแนวคิดของโควี่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎีของไมเคิล เจ เคอร์ตันของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลรามาธิบดี. ปริญญาศิลปศาตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รติ ศรีเหมือน. (2556). ศึกษาลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน : กรณีศึกษาองค์การเอกชนแห่งหนึ่ง. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

รัตนา ศิริพานิช. (2533). หลักการสร้างแบบสอบวัดทางจิตวิทยาและการศึกษา. กรุงเทพฯ: สาขาจิตวิทยาอุตสหกรรมและองค์การ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ละม้าย เกิดโภคทรัพย์. (2548). การรับรู้ความสามารถของตนเองกับความเหนื่อยหน่ายของงานบุคลากรทางการพยาบาล: กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่ง. งานวิจัยส่วนบุคคลมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรารัตน์ บุญณสะ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลใหม่กับการตั้งเป้าหมายส่วนบุคคลและความผูกพันต่อเป้าหมาย : กรณีศึกษาโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. ปริญญาศิลปศาตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัฒนมาศ ปั้นแตง. (2550). ผลของการรับรู้ความสามารถตนเอง และ การกำหนดเป้าหมายที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในโรงงานผลิตกางเกงยีนส์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วัลภา สบายยิ่ง. (2542). ปัจจัยด้านการตั้งเป้าหมายการรับรู้ความสามารถของตนเองและบุคลิกภาพที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของผู้จำหน่ายตรง. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2544). ลักษณะบุคลิกภาพของนักศึกษาไทย 6 สาขาอาชีพ จากการชี้วัดของ MBTI. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

______. (2551). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้เขา รู้เรา) (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.

ศศิวิมน เพชรอาวุธ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ : กรณีศึกษาผู้แทนยาในบริษัทยาแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมหทัย ภู่พะเนียด. (2554). การตั้งเป้าหมายในการทำงานและการรับรู้วัฒนธรรมองค์การที่พยากรณ์ความสำเร็จในงานของบุคลากร : ศึกษาเฉพาะกรณีบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ปริญญาศิลปศาตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สายทิพย์ ขันจันทร์. (2552-3). ความสามารถในการร่วมกันพยากรณ์ของการรับรู้ความสามารถของตนเองการตั้งเป้าหมายและความสัมพันธ์ในครอบครัวที่มีต่อสุขภาพจิตของนักเรียนอาชีวศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จิตวิทยาการปรึกษา, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิทธิโชค วรานุสันติกุล. (2546). จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุนันทา คาเนโกะ. (2554). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบ การตั้งเป้าหมายใน การทำงาน และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการสอนที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โสภณ บุญถนอมวงศ์. (2552). ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมเริ่มต้นด้วยตนเอง บุคลิกภาพเชิงรุก ความมานะพยายาม การยึดมั่นต่อเป้าหมายและความริเริ่มด้วยตนเองของพนักงานขายยา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อาโควี, สตีเฟน. (2539). 7 อุปนิสัย พัฒนาสู่ผู้มีประสิทธิผลสูง. (สงกรานต์ จิตสุทธิภากร และ นิรันดร์ เกชาคุปต์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูชั่น.

อาลิสรา รัตนกุล. (2550). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะบุคลิกภาพเชิงรุก เชาว์อารมณ์ ประสบการณ์การทำงานขาย เกรดเฉลี่ยสะสมกับยอดขายของเจ้าหน้าที่การตลาดสินเชื่อเคหะ : ศึกษาเฉพาะกรณีธนาคารเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Allen, B.P. (1986). Personality theories : Development, growth and diversity. New York: Pearson

Allport, G.W. (1961). Pattern and growth in personality. New York: Halt, Rinehart and Winson. Arthur, M.B. Hall, D.T., & Lawrence, B.S. (1989). Handbook of Career Theory. New York, NY: Cambridge University Press.

Akinson, J.W. (1984). An introduction to motivation. Princeton, N.J.: Van Nostrad.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action : A social cognitive theory. New Jersey: Prentice Hall.

Bandura, A. (1997). Self – efficacy : The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.

______. (1999). Social cognitive theory of personality. In L. Pervin & O. John (Eds). Handbook of Personality. New York: Guildford.

Covey, S.R. (1980). Powerful lessons in personal change. In the seven habits of highly effective people. New York: Simon & Schuster.

Covey, S.R. (1989). The seven habits of high effective people. New York: Simon & Schuster.

Cheetham, Juliet. (1992). Evaluating social work effectiveness, 170.

Pajeres, F., & Miller, M.D. (1994). The role of self – efficacy and self – concept beliefs in mathematical problem-solving: A path analysis. Journal of Educational Psychology, 86, 193-203.

Pajeres, Frank & Johnson, Magaret J. (1994). Confidence and competence in writing: The role of self – efficacy, outcome expectancy and apprehension, 313-331. Research in the Teaching of English. 28.

Parker, S.K. Williams, H.M., & Nick, T.R. (2006). Modeling the antecedents of proactive behavior at work. Journal of Applied Psychology, 91, 636-652.

Schultz, Duane & Schultz E. (1998). Theories of personality. (6 th ed). California America: Brooks/Cole Publishing Company.

Schwarzer, R., & Jerusalem, M. (1995). Generalized self-efficacy scale. In J. Weinman, S. Wright, & M. Johnston (Eds.), Measures in health psychology: A user’s portfolio. Causal and control beliefs, 35-37. Windsor, England: NFERNELSON.

Shikha Sahaia. (2012). Goal target setting and performance assessment as tool for talent management, 241-246.

Sven Asmusa. (2015). The impact of goal-setting on worker performance - empirical evidence from a real-effort production experiment, 127-132.

Thomson & Mabey. (1994). Developing human resources. Oxford: Butterworth-Heinemann.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง