การศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ Community Mall และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อความพึงพอใจ ในการใช้บริการของผู้มาใช้บริการ Community Mall ในเขตกรุงเทพมหานคร

วิสนันท์ วราสภานนท์

Abstract


     งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ Community Mall ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการ มาใช้บริการ Community Mall ในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการของผู้ใช้บริการ Community Mall ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ทำการวิจัยในเชิงปริมาณด้วยการทำแบบสอบถามกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้เคยใช้บริการ Community Mall จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างบริเวณ Community Mall ที่ยังเปิดให้บริการในกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา 2) การวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน และ 3) การใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

     ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 22 – 25 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 10,000-20,000 บาท เข้าใช้บริการห้าง Community Mall 3 – 4 ครั้งต่อเดือน มีผู้ใช้บริการห้าง Community Mall ร่วมกับแฟน เดินทางด้วยการขับรถยนต์ส่วนตัว มีจุดมุ่งหมายที่จะมารับประทานอาหารที่ห้าง Community Mall ใช้บริการช่วงเวลา 16.01 – 19.00 น. และใช้บริการร้านอาหารมากที่สุด สาเหตุที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกใช้บริการห้าง Community Mall คือ เดินทางสะดวก ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับมากทั้งหมด ภาพรวมปัจจัยองค์ประกอบของการบริการมีผลต่อการทำให้เกิดความพึงพอใจในบริการห้าง Community Mall ในระดับมาก โดยปัจจัยย่อยเรื่องลักษณะร้านค้าที่ตอบสนองความต้องการในการมาใช้บริการ ที่มีผลเป็นลำดับแรกสุดในการสร้างพึงพอใจ


 


Keywords


ห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพฯ, ส่วนประสมทางการตลาดบริการ

Full Text:

Untitled

References


กนกพรรณ สุขฤทธิ์. (2557). ส่วนประสมการตลาดบริการและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นย่าน Community Mall ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จิราพร ศรีเบญจพฤกษ์. (2553). การศึกษาความเป็นไปได้โครงการ Community Mall ย่านพระราม 3:ด้านการเงิน. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ผู้จัดการรายวัน. (2556). “ยูนิเวอร์ซิตี้มอลล์” บูม อสังหาฯ แห่ผุดโปรเจ็กต์. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 19, 2558, จาก www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9560000082276 [ออนไลน์].

พัชรภรณ์ ภาณุรัตน์. (2555). พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการคอมมูนิตี้ มอลล์: กรณีศึกษา บริษัท เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด. วิทยานิพนธ์เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพาพร อังกุรวานิช. (2553). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดนักเรียนของผู้ปกครอง ในอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2537). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2557). ค้าปลีกสมัยใหม่มุ่งรุกทุกพื้นที่ศักยภาพ ... Fast & Smart Moves คือ กุญแจความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 19, 2558, จาก www.thanonline.com/index.php?

option=com_content&view=article&id=253915 [ออนไลน์].


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง