ความสำเร็จตามพันธกิจการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อสังเคราะห์ผลงานวิจัยและบทความวิจัย ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการทำวิจัย และศึกษาความสำเร็จตามพันธกิจการวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยสำรวจความคิดเห็นของบุคลากร จำนวน 340 คน แล้วนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ และประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อนำมาหาค่าสถิติต่าง ๆ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลงานวิจัยในปีงบประมาณ 2556 – 2558 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 1159 เรื่อง จำแนกเป็นปีงบประมาณ 2556 จำนวน 319 เรื่อง ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 374 เรื่อง และปีงบประมาณ 2558 จำนวน 466 เรื่อง 2. บทความวิจัยในปีงบประมาณ 2556 – 2558 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 1275 เรื่อง จำแนกเป็นปีงบประมาณ 2256 จำนวน 236 เรื่อง ปีงบประมาณ 2257 จำนวน 572 เรื่อง และปีงบประมาณ 2258 จำนวน 467 เรื่อง 3. บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำวิจัย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก และหากพิจารณาเป็นรายด้าน ลำดับแรก ด้านนโยบายของมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ด้านการบริหารจัดการทุนวิจัย ด้านการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย และด้านเครือข่ายสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก 4. บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นต่อการทำวิจัย ภาพรวม และด้านนโยบายของมหาวิทยาลัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเพศชาย มีความคิดเห็นต่อการทำวิจัย ภาพรวม และด้านนโยบายของมหาวิทยาลัย สูงกว่าบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเพศหญิง 5. บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่จบการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก มีความคิดเห็นต่อการทำวิจัย ภาพรวม ด้านนโยบายของมหาวิทยาลัย ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ด้านการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย ด้านการบริหารจัดการทุนวิจัย และด้านเครือข่ายสารสนเทศ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอก มีความคิดเห็นต่อการทำวิจัย ภาพรวม และรายด้านทั้ง 5 ด้านสูงกว่าบุคลากรที่จบการศึกษาระดับปริญญาโท 6. บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่อยู่คณะ / วิทยาลัยต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำการวิจัย ภาพรวม ด้านนโยบายของมหาวิทยาลัย ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ด้านการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย ด้านการบริหารจัดการทุนวิจัย และด้านเครือข่ายสารสนเทศ แตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7. ผลการวิเคราะห์การทำวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา พบว่า มีแนวโน้มสูงขึ้นโดยภาพรวม ส่วนความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเกี่ยวกับการทำวิจัย ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบายของมหาวิทยาลัย ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย ด้านการบริหารจัดการทุนวิจัย ด้านการสนับสนุนของมหาวิทยาลัย และด้านเครือข่ายสารสนเทศ พบว่า ด้านที่บุคลากรมีความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านนโยบายการวิจัยของมหาวิทยาลัย แสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยมีทิศทางชัดเจน สามารถสนับสนุนการทำวิจัยของบุคลากร เป็นการส่งเสริมความรู้ความสามารถของบุคลากร ส่วนความคิดเห็นของบุคลากรในการทำวิจัยด้านที่ต่ำที่สุด คือ ด้านเครือข่ายสารสนเทศ แสดงว่ามหาวิทยาลัยควรสนับสนุนให้มีสารสนเทศทางการวิจัย ควรส่งเสริมการทำงานวิจัยในลักษณะเครือข่าย และมีระบบ/เทคโนโลยีในการส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อการพัฒนาการทำวิจัยให้มีศักยภาพสูงขึ้น โดยควรมีแนวทางการพัฒนาศักยภาพการวิจัย ได้แก่ การต่อยอดนโยบายวิจัยอย่างยั่งยืน การพัฒนาบุคลากรเพื่อการวิจัยเชิงบูรณาการ การวิจัยเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน รวมถึงแหล่งบริการสารสนเทศเพื่อการพัฒนางานวิจัยอย่างทั่วถึงทั้งองค์กร
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). มาตรการการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐาน.
ฐิติพร ตันติศรียานุรักษ์ และคณะ. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการทำวิจัยของบุคลากรสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
นิภา ศรีไพโรจน์. (2558). รูปแบบการสอนวิธีทางสถิติสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ.
สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. (2558). รูปแบบและวิธีทางการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.
รุ่งนภา อินภูวา. (2548). ความรู้และเจตคติที่มีต่อการวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
รุ่งรัตน์ ธนบดีธาดา. (2555). เทคนิคการทวนสอบการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
วรรณี สุจจิตร์จูล. (2552). การสังเคราะห์งานวิจัยรูปแบบการเรียนการสอน หลังยุคปฏิรูปการศึกษา พุทธศักราช 2542 โดยการวิเคราะห์อภิมาน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิจัยและประเมินผลการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรางคณา ผลประเสริฐ. (2552). ทำไมต้องทำวิจัย. จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(2552).
วาสนา กุสุมาลย์. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สิริรัตน์ หิตะโกวิท. (2551). ปัจจัยของความสำเร็จในการทำวิจัยของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต การวัดและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุนันทา ศรีม่วง และคณะ. (2557). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ปี พ.ศ. 2555 – 2556. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
Yamane, Taro. (1970). Statistics: An Introductory Analysis. (2 nd ed.). Tokyo: John Weatherhill, Inc.
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง