ปัจจัยที่ส่งผลต่อการร่วมโหวตในรายการทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย

ณัฏฐ์ณัชชา นำเจริญสมบัติ

Abstract


     การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการร่วมโหวตในรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย และเพื่อศึกษาปัจจัยกลยุทธ์ทางการตลาดในการติดตาม, โหวต รายการเรียลลิตี้ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย และเพื่อนำประโยชน์ในเชิงกลยุทธ์การตลาดสำหรับองค์กรหรือบุคคลที่ต้องการจะศึกษาเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับ ศึกษาวิจัยต่อไป ดำเนินการวิจัยในลักษณะผสมระหว่างเชิงคุณภาพกับเชิงปริมาณ

      ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 21 – 25 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นนักเรียน/นักศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ต่ำกว่า 15,000 บาท รับชมรายการทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย ผ่านทางช่องเรียลลิตี้ ทุกวัน กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างทำมากที่สุด คือ ร่วมโหวตให้กับนักล่าฝัน สิ่งที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายสนใจรายการทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย มากที่สุด คือ นักล่าฝันในรายการ กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เคยชมรายการทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย มาแล้ว 1 – 3 ซีซั่น กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เสียเงินเฉลี่ยที่เสียไปกับการโหวตหรือ กิจกรรมต่าง ๆ มากกว่า 1,000 บาทขึ้นไปต่อซีซั่น ผลการวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการโหวตของรายการทรู อะคาเดมี แฟนเทเชียในภาพรวม มีผลระดับมาก เมื่อมองค่าความสัมพันธ์ในรายย่อยพบว่าพัฒนาการของนักล่าฝันในแต่ละสัปดาห์เป็นปัจจัยลำดับที่ 1 ที่มีผลต่อการโหวต และปัจจัยเรื่องเพศและอายุของนักล่าฝันมีผลต่อการโหวตในระดับปานกลาง นอกเหนือจากนั้นอยู่ในระดับมาก ทั้งหมด รูปแบบการดำเนินรายการที่ส่งผลต่อการโหวตของกลุ่มตัวอย่างมากที่สุด คือ ความแปลกใหม่และโจทย์การแสดงที่น่าสนใจ ลักษณะการโหวตและการร่วมกิจกรรมของกลุ่มเป้ามายส่วนใหญ่เป็นมีการโหวตและการไปติดตามศิลปินตามงานต่าง ๆ


Keywords


เรียลลิตี้, กลยุทธ์ทางการตลาด

Full Text:

Untitled

References


ชัชฎาภรณ์ ธนันทา. (2551). บทบาทของสื่อมวลชนที่ทำให้รายการเรียลลิตี้โชว์ ประสบความสำเร็จ ศึกษาเฉพาะกรณี Academy Fantasia 2. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิมพ์พรรณ ณ พัทลุง. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวโน้มพฤติกรรมการชมรายการเรียลลิตี้โชว์ยูบีซี

อะคาเดมี แฟนเทเชีย ของผู้ชมรายการโทรทัศน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

วิกิพีเดีย. (2559). ทรูอะคาเดมี่แฟนเทเชีย. สืบค้นเมื่อ เมษายน 24, 2559, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ทรู_อะคาเดมี่_แฟนเทเชีย.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2537). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริพรรณ นำเจริญสมบัติ. (2554). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินรายการ บ้านทรู อะคาเดมี่แฟนเทเชีย ซีซั่น 6. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

True Vision. (2558). ข้อมูลเกี่ยวกับรายการทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย. สืบค้นเมื่อ มิถุนายน 5, 2558, จาก trueaf.truelife.com.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introduction analysis. New York: Harper & Row.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง