ความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ความผูกพันต่อชุมชน กับการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประชาชน ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

กฤษณา ฟุ้งฟู

Abstract


     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ และศึกษาความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ดำเนินการในพื้นที่ตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวเที่ยวโดยชุมชน จิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ความผูกพันต่อชุมชน และการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

     ผลการศึกษาพบว่าบุคคลที่มีความแตกต่างกันของอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ครอบครัวต่อเดือน และระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนต่างกัน ความรู้ในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน จิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม และความผูกพันต่อชุมชน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


Keywords


การท่องเที่ยวโดยชุมชน, จิตสำนึกในการอนุรักษ์, ความผูกพันต่อชุมชน

Full Text:

Untitled

References


คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2525). การสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมมารยาท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฬา ศรีบุตตะ. (2554). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์ของชุมชนบ้านโคกโก่ง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2(2), 102-116.

ดวงพร อ่อนหวาน และพิศาพิมพ์ จันทร์พรหม. (2555). ความต้องการการสนับสนุนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว โดยชุมชน ในอำเภอกัลป์ยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภณการพิมพ์.

นิวัต เรืองพานิช. (2546). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประพันธ์พงษ์ ชิณพงษ์. (2556). การจัดการท่องเที่ยวเชิงชุมชนของชุมชนรางจระเข้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(2), 56-71.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. (2526). หลักการพัฒนาชุมชนและหลักการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: ไทยอนุเคราะห์ไทย.

โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล. (2556). การท่องเที่ยวโดยชุมชน : เครื่องมือในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 7(1), 85-103.

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2540). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. สืบค้นเมื่อ กันยายน 15, 2557, จาก http://www.cbt-i.org.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2540). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชน: แนวคิดและประสบการณ์พื้นที่ภาคเหนือ. เชียงใหม่: วนิดาเพรส.

อนุภรณ์ สุวรรณสทิศกร. (2529). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสภาตำบลต่อโครงการ กสช. ปี 2528 อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Cohen, John M. & Uphoff, Norman T. (1977). Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project Desin. Implementation and Evalution. New York: The Rural Development Committee for International Studies, Cornell University.

Jennifer E. Cross. (2004). Improving Measure of Community Attachment. Prepared for the annual Meeting of the Rural Sociology Society. August 12-15 2004.

Kanter Rosabeth Moss. (1972). Commitment and community: Communes and Utopias Sociological Perspective. Cambridge: M.A. Harvard University Press.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง