ปัจจัยส่งเสริมการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในธุรกิจโรงแรม

สมชาย รุ่งเรือง

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาทบทวนแนวคิดและความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี งานวิจัยและรูปแบบข้อเสนอของปัจจัยส่งเสิรมการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในธุรกิจโรงแรม 2) เพื่อเสนอกรอบแนวคิดปัจจัยส่งเสิรมการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในธุรกิจโรงแรม จากการทบทวนวรรณกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาองค์ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกรอบแนวคิดการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในธุรกิจโรงแรม จากการศึกษาพบว่าการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในธุรกิจโรงแรม มีความสำคัญมากในการช่วยลดอุบัติเหตุ และความสูญเสีย รวมทั้งช่วยเพิ่มผลการดำเนินงาน และภาพลักษณ์ที่ดีของธุรกิจ ทั้งนี้ต้องอาศัยการส่งเสริมและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและองค์การ ในระดับองค์การ พบว่าปัจจัยส่งเสริมจากผู้บริหารได้แก่ คำมั่นสัญญา การให้อำนาจแก่พนักงาน การให้รางวัล และ การทบทวนประเมินผล มีส่วนสำคัญมาก รวมทั้งต้องอาศัยปัจจัยส่งเสริมจากพนักงาน ได้แก่ การมีส่วนร่วมการปฏิบัติตามข้อกำหนด และ การรายงานและเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนา เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของโรงแรมให้สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศไทย และมาตรฐานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงแรมให้ดีขึ้น และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในธุรกิจโรงแรมให้มีความพร้อม และเพิ่มระดับการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Keywords


บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาทบทวนแนวคิดและความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี งานวิจัยและรูปแบบข้อเสนอของปัจจัยส่งเสิรมการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในธุรกิจโรงแรม 2) เพื่อเสนอกรอบแนวคิดปัจจัยส่งเสิรมการบริหารจัดกา

Full Text:

Untitled

References


กระทรวงการต่างประเทศ. (2558). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC). กรุงเทพฯ: กองเศรษฐกิจ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). มาตรฐานการท่องเที่ยวอาเซียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงมหาดไทย. (2540). สรุปรายงานเหตุการณ์เพลิงไหม้อาคารโรงแรมรอยัลจอมเทียนพัทยา และแนวทางการแก้ไขปัญหาในอนาคต. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

เฉิดศักดิ์ สืบทรัพย์ และณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2557). แนวทางการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นไทย. กรุงเทพฯ: วารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 19 ฉบับที่ 2.

เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์. (2542). บริหารงานความปลอดภัย. นนทบุรี: เอกสารประกอบการสอนชุดวิทยาศาสตร์สุขภาพ หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

¬¬¬¬¬¬¬¬_______. (2533). การบริหารงานความปลอดภัย. นนทบุรี: เอกสารประกอบการสอนชุดวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล. (2549). ความปลอดภัยในการทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เล่ม 1. กรุงเทพฯ: เมฆาเพรส.

ชูวงศ์ อุบาลี. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการภัยพิบัติ: กรณีศึกษา อาคารเคหะชุมชนเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์มหาบัณฑิต บริหารรัฐกิจ, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณรงค์ ณ เชียงใหม่. (2537). การจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ณัฐพล พันธ์ภักดี. (2548). การสอบสวนกระบวนการของคุณค่าของการลงทุนที่จับต้องไม่ได้: กรณีศึกษา ความปลอดภัยและความมั่นคงในธุรกิจโรงแรมข้ามชาติ. สถาบันโพลีเทคเวอร์จีเนีย และมหาวิทยาลัยสเทต เบลคส์เบอร์ก เวอร์จีเนีย.

ทัศนีย์ ผลชานิโก. (2554). การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤติ. กรุงเทพฯ: กรมประชาสัมพันธ์.

ผกาวรรณ ผดุงสินเลิศวัฒนา. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีของโรงแรมห้าดาวในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

มนตรี สนขุนทด. (2551). การบริหารความปลอดภัยในโรงไฟฟ้า กรณีศึกษา: บริษัทผลิตไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนร่วม. สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2552). ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2541). คู่มือความปลอดภัยสำหรับพนักงานใหม่ . กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเอ็กเพรส จำกัด.

วิเชียร วิทยอุดม. (2555). ทฤษฎีองค์การ ฉบับแนวใหม่. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

ศิริเพ็ญ เนื่องจำนงค์. (2542). การมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนาวัฒนธรรมองค์การ: ศึกษาเฉพาะกรณี โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สรรเสริญ กัลวทานนท์. (2539). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารระบบอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ของบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาพร เรือนเงิน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 ของพนักงานบริษัท ออโตลิฟ (ประเทศไทย) จำกัด. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุรชัย ตรัยศิลานันท์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การจัดการความปลอดภัยของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกในจังหวัดนครราชสีมา. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

สำนักความปลอดภัย. (2558). สถานการณ์การดำเนินงานด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของประเทศไทย ปี 2558. กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน.

สำนักความปลอดภัยแรงงาน. (2557). แผนแม่บทความปลอดถัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน การทำงานแห่งชาติ (2555-2559). กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. กรุงเทพฯ: บางกอกบล๊อก.

สำนักความปลอดภัยแรงงาน. (2556). คู่มือการฝึกอบรมหลักสุตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. กรุงเทพฯ: บางกอกบล๊อก.

หัสกร หาญสมบูรณ์. (2548). อุบัติการณ์ของการบาดเจ็บจากการทำงานที่ไม่ถึงแก่ชีวิต และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชาวประมงทะเล ประเภทที่ใช้เรือมีเครื่องยนต์ภายในเรือและนำเรือมาเทียบท่าที่ท่าเรือแสมสาร อำเภอสัตหีบจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาอาชีวเวชศาสตร์ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกพล วงศ์เสรี และคณะ. (2558). แนวทางการเสริมสร้างความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางาน ของพนักงานโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ให้สอดคล้องกับมาตรฐานของประชาคมอาเซียน. สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

Alexander Cohen. (1997). Reprint of Factors in Successful Occupational Safety Programs. Behavioral and Motivational Factors Branch, National Institute for Occupational Safety and Health, Cincinnati, Ohio.

Argyris, C. (1988). Empowerment: The Emperor’s New Clothes. Harvard Business Review, 98-105.

ASEAN OSHNET CBM. (2007). Plan of Action on National Occupational Safety and Health Framework for ASEAN. Singapore: ASEAN OSHNET CBM.

Eaton, A., & Nocerino, T. (2000). The effectiveness of health and safety committees: results of a survey of public-sector workplaces. Industrial Relations.

Enz, C. A., & Masako, S. T. (2002). The safety and security of U.S. hotels: a post- September-11 report. Cornell Hotel and Restaurant Administration Quarterly.

European Agency for Safety and Health at Work. (2008). Protecting workers in hotels, restaurants and catering. Luxembourg: Office for Official Publications of the European Communities.

Heinrich, H. W. (1959). Industrial Accident Prevention: A Scientific Approach. New York: McGraw-Hill.

International Labour Organization. (2014). Good Practices Guide for Guesthouse an Small Hotel. International Labour Organization Web site: http://www.ilo.org.wcmsps/groups /.../wcms_203969.pdf

Leitch, J., Nieves, D., Burke, G., Little, M. and Gorin, M. (1995). Strategies for Involving Employees. The Journal for Quality and Participation.

MacStravic, Robin E. (1990). Medical care; Communication in marketing. Rockville, MD.: Aspen Systems Corp.

Mallak L. & Kurstedt H.A. (1996). Understanding and Using Empowerment to Change Organizational Culture in: Industrial Management. 38, 1996.

Markey, R. and Patmore, G. (2011). Employee participation in health and safety in the Australian steel industry, 1935-2006. British Journal of Industrial Relations.

Michael, S. Wright. (1998). Factors motivating proactive health and safety management. London: Entec UK Ltd.

Nalini Govindarajulu. (2004). Motiving Employees for Environmental Improvement. Emerald 104, USA.

Occupational Safety and Health Administration. (2012). Injury and Illness Prevention Programs White Paper. U.S. Department of Labor.

Olsen, M. D. & Cassee, E. (1995). The international hotel industry into the new millennium: Visioning the future. Paris: International Hotel and Restaurant Association.

Olsen, M. D. & Pizam, A. (1998). Executive summary: a white paper from IH&RA think tank on safety and security. Orlando, Florida. Paris: International Hotel and Restaurant Association.

Qun, T.F.,& Kawakami, T. (2009). The ASEAN Occupational Safety and Health Network : Good Occupational Safety and Health Practice 2008/2009. Lao PDR: ASEAN Occupational Safety and Health Network.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง