คุณภาพชีวิตการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

วราภรณ์ ปั้นบรรจง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 350 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่า

1.    อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 350 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26 - 35 ปี สถานภาพโสด จบการศึกษาระดับปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 14,001 – 20,000 บาท และมีระยะเวลาการทำงาน 2 - 5 ปี

2.   คุณภาพชีวิตการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่า โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมาก ลำดับแรก ด้านประชาธิปไตยในองค์การ รองลงมา ด้านความสมดุลงานกับชีวิตส่วนตัว ด้านความก้าวหน้า ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน และด้านค่าตอบแทน ตามลำดับ

3.   อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่มีอายุต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงาน ภาพรวม และด้านความก้าวหน้า แตกต่างกัน อย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.   อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านประชาธิปไตยในองค์การ แตกต่างกัน อย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5.   อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่มีระยะเวลาการทำงานต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านความก้าวหน้า แตกต่างกัน อย่างน้อย 1 คู่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Keywords


คุณภาพชีวิตการทำงาน

Full Text:

Untitled

References


กลิ่นสุดา ศรีธรรม. (2554). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานราชการกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. โครงการพิเศษปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เกล็ดแก้ว บุญเกิด. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การปกครองท้องถิ่น, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฏฐ์กฤตา อภิโชติภพนิพิฐ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับแรงจูงใจใน การทำงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของบริษัทไทยตาบูชิอิเล็คทริคจำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ธงไทย สมเกียรติกุล. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ บริหารธุรกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

ธิดาวัลย์ ปลื้มคิด. (2551). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต รัฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธีรสิทธิ์ สุขเจริญ. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล จังหวัดราชบุรี. การศึกษาค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาการสังเคราะห์และการจัดการระบบสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

น้อย ไทยราช. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาการจัดการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิตยา ติยอมวงศ์. (2548). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานตรวจแก้และบำรุงรักษาโทรศัพท์พื้นฐาน : กรณีศึกษา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน). การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บรรลือศักดิ์ ศรีระศร. (2546). คุณภาพชีวิตการทำงานของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บริหารรัฐกิจ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

บานชื่น ทาจันทร์. (2548). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสาย ข และสาย ค ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง