รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ เชิงพุทธบูรณาการ
Abstract
การศึกษาวิจัย เรื่อง รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์เชิงพุทธบูรณาการ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 2) เพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเชิงพุทธบูรณาการ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Reseach Method) ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 จำนวน 729 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน และสนทนากลุ่ม (Focus Group) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 คน และเก็บข้อมูลจากการทดลองใช้รูปแบบ (Experiment)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน 2) แบบสัมภาษณ์เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 ในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน 3) แนวคำถามสำหรับการสนทนาเพื่อวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์เชิงพุทธบูรณาการ และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทดลองรูปแบบ ประกอบด้วย 1) โครงการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการใฝ่เรียนรู้ที่พึงประสงค์เชิงพุทธบูรณาการ 2) แบบสอบถามความคิดเห็น ก่อนและหลัง เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation-SD) และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาและพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน มีอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการตั้งใจอย่างมีสติ เพียรพยายามในการเรียน ความคิดริเริ่มและมีจินตนาการ และศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และพบว่าสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 มีการดำเนินงานพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก
2. ผลการบูรณาการหลักพุทธธรรมในพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 พบว่าหลักพุทธธรรมที่สามารถนำมาพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างให้เกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการ ใฝ่เรียนรู้ คือ หลักอิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา และนำมาบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียน 4 ด้าน ได้แก่ 1) การตั้งใจอย่างมีสติ (ฉันทะ) 2) เพียรพยายามในการเรียน (วิริยะ) 3) ความคิดริเริ่มและมีจินตนาการ (จิตตะ) และ 4) ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (วิมังสา)
3. ผลการนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนเชิงพุทธบูรณาการ จากการวิเคราะห์ข้อมูลการศึกษา พบว่า ได้รูปแบบการพัฒนาผู้เรียนเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์เชิงพุทธบูรณาการ แบ่งออกเป็น 5 ด้าน เรียกโดยย่อว่า SAKDA MODEL ได้แก่ 1) Smart Teacher and Student (S) คือ ความทันสมัยของครูและผู้เรียน 2) Attitude (A) คือ ทัศนคติที่ดี 3) Knowledge (K) คือ วิชาความรู้ 4) Dhamma (D) คือ ธรรมะ 5) Activity (A) คือ กิจกรรม และผลการทดลองใช้รูปแบบการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1 ประจำภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 โรงเรียน คือ ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนรัฐราษฎร์บำรุง จำนวน 15 คน มีพฤติกรรมการแสดงออก ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียนโดยภาพรวมทุกด้าน ก่อนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเชิงพุทธ มีระดับพฤติกรรมในการใฝ่เรียนรู้อยู่ในระดับมาก แต่เมื่อได้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเชิงพุทธแล้ว พบว่า พฤติกรรมการใฝ่เรียนรู้ของผู้เรียนโดยภาพรวมทุกด้าน มีพัฒนาการตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านการใฝ่เรียนรู้ที่ดีขึ้น โดยมีระดับพฤติกรรมในการใฝ่เรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด
Keywords
Full Text:
UntitledReferences
พระครูปลัดบัณฑิต อินฺทเมธี (สิทธิพล). ฤาระบบศีลธรรมในสังคมไทยล้มเหลว : ปัญหาเด็กและเยาวชน. สืบค้นวันที่ เมษายน 16, 2558, จาก https://www.gotoknow.org/posts/426870.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ. (2556). สุขที่ได้ธรรม. นนทบุรี: ดีไซน์ ดีไลท์ จำกัด.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2532ข). การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ จำกัด.
วีรชัย อนันต์เธียร. (2557). กลยุทธ์การพัฒนาจริยธรรมสำหรับเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1. (2556). บทสรุปและข้อเสนอแนะจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ของสถานศึกษาระดับขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1. แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สิริกร มณีรินทร์. (2547). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
อารี พันธ์มณี. “จากการสอนสู่การจุดประกายความใฝ่รู้”. วารสารการศึกษา กทม. 26(1), (ตุลาคม 2545).
Refbacks
- There are currently no refbacks.
ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง