แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตจังหวัดอุดรธานี

ชรัลชิดา ชินคำ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี 3)เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี  4) เพื่อศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี การวิจัยเป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ หัวหน้าหน่วยงานคลัง   เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านงานการเงินและบัญชี  เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านงานพัสดุ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านจัดเก็บรายได้ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน  องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี จำนวน 109  แห่ง ๆ ละ 5 คน  รวมจำนวน 545 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าค่าที่ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one – way  ANOVA) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise  Multiple Regression)

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ประมาณร้อยละ 70.8 เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 35-40 ปี  ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีระดับตำแหน่ง 4 – 5 มากที่สุ ส่วนใหญ่มีอัตราเงินเดือนระหว่าง  20,001 – 30,000 บาท และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน  11 – 15 ปี

ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย  ได้แก่ ด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ด้านเวลา ด้านปริมาณงาน และด้านคุณภาพ

บุคลากรผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี  ที่มีสถานภาพส่วนบุคคลแตกต่างกัน  พบว่า เพศ และระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ยกเว้นบุคลากรที่มี อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง และอัตราเงินเดือนแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  โดยที่บุคลากรที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ระดับตำแหน่ง 6-7 และ 20,001-30,000 บาทมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานมากไปหาน้อย พบว่า  สภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นแรงจูงใจมากที่สุด  อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน นโยบายการบริหารงาน  ความสำเร็จในการทำงาน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ  การได้รับการยอมรับนับถือ ความรับผิดชอบ รายได้และสวัสดิการ ความมั่นคงและปลอดภัยในการทำงาน   และโอกาสและความก้าวหน้าในตำแหน่งงาน

ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ ได้แก่ นโยบายการบริหารงาน  รายได้และสวัสดิการ ความรับผิดชอบ และความสำเร็จในการทำงาน 

Keywords


แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ

Full Text:

Untitled

References


กชกร เอ็นดูราษฎร์. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัท โกรเฮ.สยามจำกัด. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

กฤษณ์ เสร็จกิจดี. (2547). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา, มหาวิทยาราชภัฏนครปฐม.

ชวนชื่น วุฒิสมบูรณ์. (2547). การสำรวจความเห็นของผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพ การบริหารงานคลัง กรณีศึกษาเทศบาลในจังหวัดระยอง. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารทั่วไป, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดารณี พานทอง. (2542). ทฤษฎีการจูงใจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ติน ปรัชญาพฤทธิ์. (2544). ศัพท์รัฐประศาสศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2540). การส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ..

ธงชัย สันติวงษ์. (2541). การบริหารงานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

นาตยา ชัยชื่อ. (2545). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการสำนักสืบสวนและปราบปราม สังกัดกรมศุลกากร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต นโยบายสาธารณะและการบริหารงานบุคคล, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการสร้างสถิติสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ผณิพันธุ์ โตจันทร์. (2544). การประเมินประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ : ศึกษาเฉพาะกรณี กองกำกับการ 1 กองตำรวจสันติบาล 2. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต รัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง