รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดชุมพร สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

กิ่งนภา ศรีพรหม

Abstract


[1]การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดชุมพรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยสอบถามครู และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดชุมพร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และ 2 จำนวน 265 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบฯ โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบ โดยสอบถามกับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดชุมพร ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และ 2 จำนวน 92 คน ผลการวิจัยพบว่า

1.   ขั้นตอนที่ 1 พบว่า สภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้พบว่า สภาพการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดชุมพรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

2.   ขั้นตอนที่ 2 รูปแบบฯ มี 11 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การพัฒนาบุคลากรอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง 2) การจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก 3) การพัฒนาวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ให้ทันสมัย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง 4) การเก็บรักษาความรู้ขององค์กร และแบ่งปันความรู้ 5) การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถด้านเทคโนโลยี 6) การส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเรียนรู้ร่วมกัน 7) ผู้บริหารเป็นผู้นำด้านการเรียนรู้ 8) การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารซึ่งกันและกัน 9) การกระตุ้นและส่งเสริมให้มีความริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ 10) การจัดการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 11) การสร้างวัฒนธรรมการทำงานเพื่อเปิดใจยอมรับการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ ๆ

3.   ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบความเหมาะสม และความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดชุมพรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า มีความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

 

Keywords


การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดชุมพรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยสอบถา

Full Text:

Untitled

References


กระทรวงศึกษาธิการ. (2549ข). แนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเรียนการสอน ตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษา “2549 ปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน”. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐาน.

_______. (2553). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

ปรียานุช สถาวรมณี. (2548). การพัฒนากิจกรรมในหลักสูตรเสริมเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

Easterby-Smith, M. (1997). “Disciplines of Organizational Learning: Contributions and Critiques”. Human Relations. 50(9), 1085-1113.

Krejcie, R.V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Marquardt, M. J. (1996). Building the Learning Organization. New York: McGraw-Hill.

McGaw, Dickinson & Watson, George. (1976). Political and Social Inquiry. Arizona: Arizona State University.

Senge, Peter M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.


ยินดีรับบทความวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับและการพิจารณาตีพิมพ์ตามลำดับก่อนหลัง