กระบวนการประยุกต์เส้นใยสับปะรดสู่แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์

ณัฐพล จิตร์จักรกล, สุธาสินีน์ บุรีคำพันธุ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการประยุกต์เส้นใยสับปะรด  2) เพื่อศึกษา
ผลสำรวจความต้องการของผู้บริโภคสู่แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์  โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  ผู้ให้ข้อมูลด้านกระบวนการผลิตเส้นใยสับปะรดจำนวน 3 ท่าน  โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากประสบการณ์ด้านกระบวนการประยุกต์เส้นใยสับปะรดที่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป  และผู้บริโภคที่มีความสนใจในผลิตภัณฑ์จากเส้นใยสับปะรดจำนวน 100 คน  โดยวิธีการเลือกแบบตามสะดวก (Convenience Selection)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างปลายเปิด  โดยสัมภาษณ์เป็นรายบุคคลด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Individual Depth Interview)  และแบบสำรวจความต้องการในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากเส้นใยสับปะรด ผลการวิจัยพบว่า  เส้นใยสับปะรดเป็นเส้นใยที่มีความยาวและละเอียด  มีความนุ่มคล้ายฝ้าย  มีความแข็งแรงกว่าฝ้าย  เหมาะสมต่อการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สิ่งทอ  สามารถจำแนกใยสับปะรดออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ เส้นใยละเอียดมาก (Finest fiber)  เส้นใยละเอียด (Fine fiber)  และเส้นใยหยาบ (Coarse fiber)  สามารถนำไปทอเป็นผ้าผืนร่วมกับเส้นใยฝ้ายเพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์  และผลการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคสู่แนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น  พบว่าร้อยละ 32  ผู้บริโภคมีความสนใจที่จะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากเส้นใยสับปะรดประเภทผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอบนโต๊ะอาหารมากที่สุด  โดยผู้วิจัยได้ทำการนำเสนอแนวความคิดทางการออกแบบจากการวิเคราะห์ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสับปะรด  และนำเสนอแบบร่างแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ประเภทผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอบนโต๊ะอาหารจำนวนทั้งสิ้น 3 ประเภท  ได้แก่  ผ้ารองจาน  ผ้ารองแก้วและถุงเก็บช้อนส้อม

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.