ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อการเกิดอาชญากรรมในประเทศไทย

รัฐศานติ เพชรหมู่, วัฒนดำรงค์ วัฒนดำรงค์

Abstract


อาชญากรรมถือเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ นอกจากจะส่งผลกระทบในภาพรวมของความปลอดภัยและความมั่นคงภายในประเทศแล้ว ยังส่งผลในมิติทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นด้วย เนื่องจากภาครัฐจำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอาชญากรรม เป็นเหตุให้ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรเพื่อใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรในด้านอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ อัตราการว่างงาน, ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว, สัดส่วนคนจน, การศึกษา, ร้อยละของประชากรที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย และนโยบายการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด โดยใช้ข้อมูลช่วงยาว (Panel Data) ระดับจังหวัด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 – 2562 รวมทั้งสิ้น 13 ปี ในการวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยภายใต้สมมติฐาน Fixed Effect Model ในการศึกษาอาชญากรรมโดยรวมในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า เมื่ออัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้การเกิดอาชญากรรมโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และระดับการศึกษาที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้อาชญากรรมโดยรวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.