พฤติกรรมการใช้ การแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในเขตภาคกลางตอนล่าง

สาโรจน์ เพชรมณี, ประพันธ์ ขันติธีระกุล, จินตนา เพชรมณี

Abstract


การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการใช้การแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน  ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในเขตภาคกลางตอนล่าง   เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  ประชากรในการศึกษาคือประชาชนในเขตภาคกลางตอนล่างจำนวน 20,085,971 คน ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ด้านความรู้ เกี่ยวกับการแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านอยู่ในระดับต่ำ (คะแนนระหว่าง 0 ถึง12 คะแนน)  จำนวน 383 คน คิดเป็นร้อยละ 95.75 ระดับปานกลาง (คะแนนระหว่าง 13-25 คะแนน) จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 4.25 ไม่มีผู้ที่ได้คะแนนความรู้ในระดับสูง คือคะแนนระหว่าง 26-35 คะแนน   ด้านทัศนคติ พบว่า  ส่วนใหญ่มีระดับทัศนคติระดับปานกลาง  จำนวน 208 คน คิดเป็นร้อยละ 52.00  ระดับดีจำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 41.25 และระดับไม่ดี จำนวน 27 คน  คิดเป็นร้อยละ 6.75 ตามลำดับ   ด้านการปฏิบัติพบว่า อยู่ในระดับดี จำนวน 168 คน คิดเป็นร้อยละ 32.75  ระดับปานกลาง  จำนวน 131 คน คิดเป็นร้อยละ 32.75 และระดับไม่ดี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ  5  ตามลำดับ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนเกี่ยวกับการใช้การแพทย์ทางเลือก การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านต่อไป

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.