ประสิทธิผลของการปฏิบัติด้านสุขภาพตามนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับภัยแผ่นดินไหวในจังหวัดเชียงราย

กาญจนา ปินตาคำ, พัชรินทร์ วินยางค์กูล, มณุเชษฐ์ มะโนธรรม, ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, ธนพนธ์ คำเที่ยง

Abstract


การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติด้านสุขภาพตามนโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับแผ่นดินไหว ประชากร เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำแผนแม่บทการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม ปี พ.ศ. 2557 อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั้งเพศชายและหญิงในจังหวัดเชียงรายตามแนวรอยเลื่อนแผ่นดินไหวทั้งสิ้น 14 พื้นที่ จำนวนพื้นที่ ละ 10คน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 140 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ส่วนที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และส่วนที่ 2 ประเมินกระบวนการขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติด้านแผ่นดินไหวตามแผนปฏิบัติการด้านแผนแม่บทป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากแผ่นดินไหวและอาคารถล่ม และส่วนที่ 3 แบบสอบถามการปฏิบัติตามแนวนโยบายแผ่นดินไหวในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่าบุคคลากรภาครัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับมือแผ่นดินไหวในพื้นที่และมีส่วนสำคัญในการนำนโยบายของภาครัฐไปดำเนินการและเป็นผู้ขับเคลื่อนแนวนโยบาย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 85 ราย ร้อยละ 60.7 ช่วงอายุส่วนใหญ่ อายุ 44ปี – 55 ปี จำนวน 50 ราย ร้อยละ 35.7 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี จำนวน 51 ราย ร้อยละ 36.4 มีความพร้อมของหน่วยงานในการนำนโยบายไปปฏิบัติ จำนวน 105 ราย ร้อยละ 75.0 ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์กับการรับมือแผ่นดินไหวมาก่อน จำนวน 102 ร้อยละ 72.9 ไม่สามารถนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติได้ครอบคลุม จำนวน 65 รายร้อยละ 46.4 แต่มีแผนเตรียมความพร้อมในการรับมือแผ่นดินไหว จำนวน 94 ราย ร้อยละ 67.1 และผลของการวิจัยในการนำแนวนโยบายภาครัฐไปสู่การปฏิบัติแผ่นดินไหวในชุมชน พบว่า หน่วยงานมีการเตรียมความพร้อมก่อนเกิด ขณะเกิดและหลังเกิดแผ่นดินไหว โดยรวมมากกว่าร้อยละ 50 และระดับการปฏิบัติตามนโยบายดินไหวในชุมชนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( ±S.D. =3.08±0.84) ทั้งนี้ผลที่ได้จากงานวิจัยสามารถนำไปปรับใช้เพื่อการเตรียมความพร้อมรับมือแผ่นดินไหวในพื้นที่ต่อไป

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.