ประสิทธิภาพของตัวดูดซับจากเปลือกมันสำปะหลังในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันพืชใช้แล้ว

นลินนิภา เวียงนาค, อำนาจ เพชรรุ่งนภา

Abstract


งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาตัวดูดซับจากเปลือกมันสำปะหลังและทดสอบประสิทธิภาพของตัวดูดซับในการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันพืช โดยมุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณสารประกอบโพลาร์ สาร conjugated diene (CD) และกรดไขมันอิสระ (FFA) โดยได้มีการพัฒนาตัวดูดซับจากเปลือกมันสำปะหลังขึ้นมา 4 ชนิดแล้วนำไปใช้ในปรับปรุงคุณภาพน้ำมันพืชใช้แล้วโดยใช้อัตราส่วนตัวดูดซับ 1 กรัมต่อน้ำมันพืช 20 กรัมและใช้ระยะเวลาในการดูดซับ 180 นาที ผลการทดลองพบว่า ตัวดูดซับชนิด A3 ที่ผลิตด้วยการนำเปลือกมันสำปะหลังไปบดและเผาที่ 200 °C แล้วนำมาย่อยด้วย 1 N NaOH มีประสิทธิภาพสูงที่สุด เนื่องจากสามารถลดปริมาณสารประกอบโพลาร์ในน้ำมันพืชให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 20% และลดปริมาณ FFA ได้ถึง 43.36 % เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันพืชใช้แล้วที่ไม่ผ่านกระบวนการดูดซับ แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยพบว่าตัวดูดซับ A3 ไม่สามารลดปริมาณสาร CD ในน้ำมันพืชใช้แล้วได้ จึงควรมีการปรับสภาวะที่ใช้ในกระบวนการดูดซับให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น เพิ่มปริมาณตัวดูดซับที่ใช้ หรือเพิ่มระยะเวลาที่ใช้ในการดูดซับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของตัวดูดซับ A3 ให้ดียิ่งขึ้น

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.