จุลกายวิภาคศาสตร์และมิญชเคมีของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (hemipenis) ของแย้ Leiolepis ocellata
Abstract
แย้ Leiolepis ocellata เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่พบทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างทางจุลกายวิภาคศาสตร์และมิญชเคมีของอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (hemipenis) ของแย้ L. ocellata โดยนำ hemipenis มาตัดด้วยเครื่องโรตารีไมโครโตมให้ได้เนื้อเยื่อแผ่นบางหนา 5 ไมโครเมตรและนำเนื้อเยื่อแผ่นบางไปย้อมสี Harris’s hematoxylin และ eosin (H&E) สี periodic acid Schiff’s-hematoxylin (PAS-H) สี alcian blue (AB) pH 2.5 และ สี AB pH 1.0 ผลการศึกษา พบว่า hemipenis แยกออกมาจากทวารร่วม โดยแบ่งออกเป็นข้างซ้ายและข้างขวา ซึ่ง hemipenis ซึ่งทั้ง 2 ข้างแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนต้น ส่วนกลางและส่วนปลาย โดย hemipenis ส่วนต้น มีเนื้อเยื่อบุผิวรูปร่างแบนเรียงตัวซ้อนกันหลายชั้น ใต้ชั้นเนื้อเยื่อบุผิวประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหนา พบหลอดเลือดแทรกอยู่จำนวนมาก นอกจากนี้ใน sulcus spermaticus ยังพบสารคัดหลั่ง ถัดมาคือ hemipenis ส่วนกลาง มีลักษณะคล้ายกับส่วนต้น แต่มีความแตกต่างคือ sulcus spermaticus ของ hemipenis ส่วนกลางมีความกว้างมากกว่าและ sulcus spermaticus แตกแขนงออกเป็น 2 แขนง บ่งบอกได้ว่า hemipenis ส่วนกลางอาจมีหน้าที่ในการกักเก็บอสุจิในระยะเวลาอันสั้นก่อนที่จะส่งออกไปนอกร่างกาย สำหรับ hemipenis ส่วนปลาย พบกลุ่มของมัดกล้ามเนื้อโครงร่าง ซึ่งมีส่วนช่วยในการบังคับทิศทางและใช้ยึดเกาะทวารร่วมของเพศเมียในขณะสืบพันธุ์ จากผลการย้อมสี PAS-H, AB pH 2.5 และ AB pH 1.0 พบว่า สารคัดหลั่งใน sulcus spermaticus ติดสีย้อม PAS เท่านั้น บ่งบอกได้ว่า สารนั้นเป็น neutral mucin ซึ่งมีหน้าที่ในการหล่อลื่น sulcus spermaticus ให้มีความชุ่มชื้น
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.