การศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์

วรพรรณ แดงพุธทางกูร, สิฏฐิรัฏฐ์ ใจแก้ว

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ 
จังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง พฤศจิกายน
พ.ศ.2561จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ t-test, One -Way ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วย Scheffe Analysisผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอยู่ในช่วงอายุ 21-30 ปี มีอาชีพเป็นนักเรียน/นักศึกษา โดยมีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท และอยู่ในภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ส่วนใหญ่ชื่นชอบสนามช้างอารีนา  กิจกรรมที่สนใจคือการรับชมการแข่งขันกีฬา  โดยมีระดับราคาค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 1,000 บาทซึ่งส่วนใหญ่เลือกชำระเงินด้วยเงินสด ช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าคือ ร้านค้าภายในแหล่งท่องเที่ยว เดินทางร่วมกับเพื่อนด้วยรถโดยสารประจำทาง ใช้ระยะเวลา 1 วัน และเลือกรับข่าวสารผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagramผลการวิจัยพบว่าแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา  แหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬา อำเภอเมืองบุรีรัมย์  จังหวัดบุรีรัมย์พบว่าในด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการแหล่งท่องเที่ยว  และด้านศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว มีผลการพิจารณาในภาพรวมอยู่ในระดับมีความสำคัญมาก โดยมีด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการแหล่งท่องเที่ยวอยู่ในระดับมีความสำคัญมากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ และอันดับสุดท้ายคือด้านศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว และสำหรับผลพิจาราณารายข้อที่มีความสำคัญ 5 อันดับแรก  ได้แก่ มีการจัดอีเวนท์ต่างๆเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว ระบบโครงสร้างของสถานที่มีความปลอดภัย แข็งแรง เช่น อาคาร ,สนาม,บันได เป็นต้น มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง มีกิจกรรมท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น เลือกซื้อสินค้าที่ระลึก,เล่นกีฬา,รับชมและเชียร์กีฬา  มีร้านอาหารหรือร้านสะดวกซื้อเพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว  โดยวิจัยในครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าการเปรียบเทียบความแตกต่างแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงกีฬาของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามสภาพทั่วไป พบว่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ด้านเพศจำนวน 3 รายการ ด้านอายุ จำนวน 12 รายการ ด้านอาชีพจำนวน 11 รายการ ด้านรายได้จำนวน 3 รายการ และด้านภูมิลำเนาไม่พบความแตกต่างทางนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 โดยวิจัยในครั้งนี้กำหนดความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.