รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

รมย์นลิน ศรีสายหยุด, เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต, ปัญญา ธีระวิทยเลิศ

Abstract


การจัดการศึกษาวิชาชีพระบบทวิภาคี เฉพาะหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)           มีนักศึกษาระบบทวิภาคี ที่ฝึกอาชีพกับสถานประกอบการ จำนวนผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ปีการศึกษา 2562 – 2563 ข้อมูลจำนวนผู้เรียนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มีปริมาณน้อย ซึ่งสถานประกอบการมีความต้องการมาก           แต่เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี สำหรับสถานศึกษามีความพร้อมในการจัดการศึกษาวิชาชีพระบบทวิภาคี ทั้งด้านการจัดหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การจัดการฝึกอาชีพ และการวัดและการประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ได้เห็นความสำคัญของการพัฒนากำลังคนระดับเทคนิค ให้สามารถประกอบอาชีพได้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในระดับชาติ ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษา “รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสู่ในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อใช้สร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาในการยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาหรือสถานประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิธีการดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานการสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ศึกษาจากเอกสารและแนวคิดทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยศึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 5 คน ผลการวิจัย ตอนที่ 1 ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี 1. ผลการศึกษาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโดยการสังเคราะห์เอกสาร ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป็นกรอบแนวคิดเบื้องต้นในการวิจัย ดังนี้ 1) หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) คณะกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม 3) ขอบข่ายงานการบริหารแบบมีส่วนร่วม 4) กระบวนการแบบมีส่วนร่วม และ 5) มาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ตอนที่ 2 การสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการสร้างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ศึกษาใน 2 ส่วน คือ 1) การศึกษาการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีโดยการสังเคราะห์เอกสาร 2) การศึกษาแนวทางในการพัฒนาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 ส่วน มายกร่างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี  ซึ่งประกอบด้วยหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม และองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบคือ 1) คณะกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมและขอบข่ายงานการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) กระบวนการบริหารแบบมีส่วนร่วม และ 3) มาตรฐานการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ผลการหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ผู้วิจัยได้นำร่างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี นำเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ด้วยการสนทนากลุ่ม

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.