การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แผ่นประคบสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีฟิล์มบาง ในธุรกิจสปาและนวดแผนไทย ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร

ลฎาภา ศรีพสุดา, สิทธิศักดิ์ สุวรรณี, ปิยพัชร วิมลโสภณกิตติ, สุวัสสา ปั้นเหน่ง, วิบูลย์สุข ตาลกุล, สมพร เถาวัลแก้ว, พงศกร ทองพันธุ์, วาสนา เกษมสินธ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แผ่นประคบสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีฟิล์มบางในธุรกิจสปาและนวดแผนไทย ในเขตอำเภอเมืองสกลนครเลือกใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย 1) ทีมแพทย์แผนไทยอำเภอเมืองสกลนคร จำนวน 15 ทีม 2) ร้านพีซีสปา นวดแผนไทย สกลนคร และ 3) ร้านไทยไพลิน นวดแผนไทย&สปา สกลนครใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัย พบว่า สถานประกอบการ ร้อยละ 70.59 เป็นกิจการนวดเพื่อสุขภาพ ระยะเวลาก่อตั้ง 3 ปีขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ 58.82 และร้อยละ 58.82 ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลสกลนคร อัตราค่าบริการต่อครั้งส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 201 - 250 บาท ต่อระยะเวลา 30 - 60 นาที โดยใช้ลูกประคบ 2-3 ลูกสถานประกอบการไม่ได้ผลิตลูกประคบใช้เองการให้บริการแต่ละครั้งส่วนใหญ่ใช้เวลานึ่งลูกประคบด้วยเตาไฟฟ้า20-40 นาทีอย่างไรก็ตาม ลูกประคบจะมีอุณหภูมิที่เหมาะสมในช่วง 5-10 นาที หลังจากนั้นต้องนำมานึ่งเพื่อใช้งานใหม่สถานประกอบการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับต้นแบบแผ่นประคบสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีฟิล์มบางว่าประหยัดเวลาในการนึ่ง/เตรียมลูกประคบ มีค่าเฉลี่ย 4.76 มีความสะดวกต่อการนวดประคบ มีค่าเฉลี่ย 4.71 และสามารถต่อแบตเตอรี่ หรือแหล่งพลังงานอื่นได้ มีค่าเฉลี่ย 4.65 ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 82.35 เห็นว่ามีความเป็นไปได้ในการใช้แผ่นประคบสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีฟิล์มบางในธุรกิจสปาและนวดแผนไทย และร้อยละ 88.24 มีความต้องการใช้แผ่นประคบสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีฟิล์มบางในธุรกิจสปาและนวดแผนไทย


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.