การศึกษาความพึงพอใจของพนักงานสอบสวนหลังจากได้รับผลการตรวจชันสูตรบาดแผลหรือศพของแพทย์จากสถานพยาบาล: ศึกษาเฉพาะกรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาล

กตัญญุตา จันทร์เทพ, ณิช วงศ์ส่องจ้า, ณรงค์ กุลนิเทศ

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานสอบสวนหลังจากได้รับรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลหรือศพของแพทย์จากสถานพยาบาล วิธีการวิจัยเชิงปริมาณทำการเก็บแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานสอบสวนสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งได้รับข้อมูลตอบกลับจำนวน344 คน วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่างพนักงานสอบสวนระดับชั้นยศพันตำรวจเอกกองบังคับการละ 2 คน รวม 18 คน ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจของพนักงานสอบสวนอยู่ในระดับมาก(mean = 3.49, S.D. = .819) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของพนักงานสอบสวน ได้แก่ ระยะเวลาปฏิบัติงานในสายงานสอบสวน(Sig. =0.002<a0.05), หน่วยงานหรือองค์กรที่สังกัด(Sig. =0.001<a0.05),ด้านรายละเอียดจำนวนวันหรือระยะเวลาในการรักษา(X1 : Beta = 0.258),ด้านความถูกต้องและชัดเจนของใบนำส่งผู้บาดเจ็บหรือศพให้แพทย์ตรวจชันสูตร(X2: Beta = 0.325),ด้านรายละเอียดทั่วไป(X3: Beta = 0.159),ด้านรายละเอียดการรักษา(X4: Beta = 0.257), ด้านรายละเอียดบาดแผล(X5: Beta = 0.183)และด้านความครบถ้วนของข้อมูลที่พนักงานสอบสวนส่งให้แก่สถานพยาบาล(X6: Beta = 0.210)จากค่าBeta ข้างต้น ตัวแปรต้นทั้ง 6 ร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจของพนักงานสอบสวนหลังจากได้รับผลการตรวจชันสูตรบาดแผลหรือศพของแพทย์จากสถานพยาบาล ได้ร้อยละ 87.6 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์เท่ากับ 0.208 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ความพึงพอใจ (Y) = .258X1 + .325X2 + .159X3 + .257X4 + .183X5 + .210X6

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.