การพัฒนาความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยการจัดการเรียนรู้ภาษาที่เน้นภาระงานเป็นฐาน (TBLT)
Abstract
การวิจัยเรื่องการพัฒนาความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยการจัดการเรียนรู้ภาษาที่เน้นภาระงานเป็นฐาน (TBLT) ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียว มีการทดลองก่อนเรียนและหลังเรียน (One Group Pre-test Post-test Design) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสะท้อนคิด โดยการจัดการเรียนรู้ภาษาที่เน้นภาระงานเป็นฐาน (TBLT) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังโดยการจัดการเรียนรู้ภาษาที่เน้นภาระงานเป็นฐาน (TBLT) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาที่เน้นภาระงานเป็นฐาน (TBLT) ของนักศึกษาปีที่ 1 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แผนการสอน แบบวัดความสามารถในการการฟัง จำนวน 1 ฉบับ เป็นการฟังคำศัพท์ สำนวน และบทสนทนาต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การบอกทิศทาง และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาษาที่เน้นภาระงานเป็นฐาน (TBLT) เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ จำนวน 24 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การทดสอบค่าที (t-test for dependent) ผลการศึกษา พบว่า 1. ประสิทธิภาพของการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสะท้อนคิด โดยการจัดการเรียนรู้ภาษาที่เน้นภาระงานเป็นฐาน (TBLT) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 93.16/61.19 2. ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 65.21 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 52.96 ความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยความสามารถในฟังภาษาอังกฤษหลังเรียน มีคะแนนคิดเป็นร้อยละ 93.16 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 3. ความพึงพอใจในการเรียนการสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านการวัดประเมินผลการเรียนการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด เป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ผู้สอน และด้านวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน ตามลำดับ
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.