ปัจจัยที่สัมพันธ์กับสถานะทางมิติสังคมของวัยรุ่นตอนกลาง
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ความนับถือตนเอง ภาวะซึมเศร้า และรูปแบบการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง กับสถานะทางมิติสังคมของวัยรุ่นตอนกลาง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 โรงเรียน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย ANOVA และ Chi-Square Test
ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย จำนวน 542 คน นักเรียนหญิง 673 คน มีอายุเฉลี่ย 14.1 ปี (S.D. = 0.75) นักเรียนที่ได้รับความชื่นชอบและเป็นที่นิยมมีความนับถือตนเองสูงกว่านักเรียนที่ถูกปฏิเสธและไม่เป็นที่นิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (30.2 ± 3.3 vs. 27.9 ± 4.5, p < 0.001) และมีภาวะซึมเศร้าต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (16.1 ± 7.4 vs. 19.0 ± 9.9, p < 0.05) นักเรียนที่เป็นที่นิยมและไม่เป็นที่นิยมมีรูปแบบการเลี้ยงดูของผู้ปกครองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยนักเรียนที่เป็นที่นิยมได้รับการเลี้ยงดูแบบ optimal bonding มากที่สุด (ร้อยละ 33.3) และนักเรียนที่ไม่เป็นที่นิยมได้รับการเลี้ยงดูแบบ affectionless control มากที่สุด (ร้อยละ 40.3)
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.