งบประมาณรายจ่ายแผ่นดินกับการแก้ปัญหาความยากจน

ศิวิไล ชยางกูร

Abstract


การศึกษา เรื่องงบประมาณรายจ่ายแผ่นดินกับการแก้ปัญหาความยากจน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดทำงบประมาณที่จัดสรรในยุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกับความยากจนมิติ การศึกษา รายได้ คุณภาพชีวิต ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารงบประมาณ ปี พ.ศ.2555-2559 พบว่า การจัดทำงบประมาณแผ่นดิน จัดทำปีต่อปี ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ 2550 มีหน่วยงานเกี่ยวข้องได้แก่ รัฐบาล รัฐสภาหรือสภาท้องถิ่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีขั้นตอนและบริหารงบประมาณ งบรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความยากจนได้แก่ ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน มิติที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร รัฐบาลได้ตัดทอนในแผนงานส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร แต่ได้มีแผนงานอื่นรองรับ ได้แก่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก แผนเสริมสร้างเสถียรภาพราคาสินค้า แผนงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แม้นว่ามีแผนงานอื่นรองรับก็ไม่ควรตัดทอนงบประมาณแผนงานเดิม เพื่อให้แผนงานเดินต่อไปได้ดี และยุทธศาสตร์การศึกษา คุณธรรม จริยธรรม คุณภาพชีวิตและความเท่าเทียมกันในสังคม งบประมาณรายจ่ายไม่ได้ให้ความสำคัญ ในระยะแรกของปีงบประมาณได้รับเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2556 และ2557 ในอัตราที่ลดลง คือร้อยละ 6.9และ3.13 และปีงบประมาณ 2558 และ2559 ได้รับลดลงร้อยละ 0.64และ1.70  สำหรับแผนงานเสริมสร้างความมั่นคงของชีวิตและสังคม งบประมาณรายจ่ายไม่ถูกจัดสรรในช่วงสองปีหลังของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11แต่มีแผนงานอื่นรองรับลักษณะคล้ายกัน ในปีงบประมาณ 2557-2559 รัฐบาลเห็นความสำคัญสุขภาพประชาชนได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายในแผนงานพัฒนาระบบประกันสุขภาพ  ทั้งนี้แผนงานทุกแผนงานในแต่ละยุทธศาสตร์ มีความสำคัญที่สามารถให้ประชาชนในประเทศได้มีโอกาส สิทธิเขาถึงการศึกษา สุขภาพ สวัสดิการของรัฐคุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น จักทำให้ประเทศหลุดพ้นจากความยากจนได้


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.