การสำรวจความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องแรงและความดัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่องแรงและความดัน ของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 49 คน โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดความเข้าใจมโนมติแรงและความดันแบบ 2 ระดับ ระดับที่ 1 เป็นแบบปรนัยและระดับที่ 2 เป็นการเขียนเหตุผลประกอบในคำตอบระดับที่ 1 ตรวจคำตอบของนักเรียนโดยใช้เกณฑ์ของ Costu, et al (2012) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเข้าใจมโนมติที่คลาดเคลื่อน เรื่องแรงและ
ความดัน โดยรวมคิดเป็นร้อยละ 62.52 ดังนี้ 1) การปล่อยลูกบอลลงจากพื้นเอียงไม่มีแรงมาเกี่ยวข้อง 2) แรงไม่สามารถทำให้วัตถุหยุดนิ่ง, เคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือช้าลงได้ 3) นักเรียนไม่สนใจทิศทางเมื่อหาค่าแรงลัพธ์ 4) แรงเสียดทานมากทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ไกล 5) ทิศทางของแรงพยุงมีทิศทางเดียวกันกับแรงผลักและแรงโน้มถ่วงของโลก 6) สันเขื่อนต้องเป็นลักษณะของทรงกระบอกจะสามารถรับแรงดันน้ำได้ดี 7) วัตถุจมในของเหลวที่มีความหนาแน่นสูง
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.