แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3

สุดารัตน์ กุมขุนทด, ธานี เกสทอง

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3คือ 1) ศึกษาปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 จำนวน 234 คน จากประชากรทั้งหมด 596 คน 141 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) หาแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 โดยการจัดสนทนากลุ่มโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน 

ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในอันดับปานกลาง ซึ่งอันดับสูงสุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา และอันดับต่ำสุดได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนแนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ประกอบด้วย ดังนี้ 1) สถานศึกษาควรส่งเสริมนโยบายการจัดการศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา ให้มีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม/โครงการต่างๆ 2) สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูผู้สอนจัดทำวิจัยในชั้นเรียน เกี่ยวกับ กิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนได้รับความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการทำวิจัยต่างๆ ตามหลักวิชาการ 3) สถานศึกษาควรส่งเสริมนักเรียนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม/โครงการต่างๆ ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาสถานศึกษาและชุมชน และ 4) สถานศึกษาควรส่งเสริมจัดให้มีการแสดงผลงานการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ของบุคลากรในกิจกรรม/โครงการต่างๆ ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นเข้าร่วมโครงการ “สถานศึกษาพอเพียง” เข้ารับการประเมินอย่างเป็นทางการ และพัฒนาสู่ “สถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ” ต่อไป


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.