อำนาจหน้าที่และความรับผิดของพนักงานสอบสวน

สุคนธา แก้วทองg, สอาด หอมมณี, ประทีป ทับอัตตานนท์

Abstract


            วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดของพนักงานสอบสวน ซึ่งพนักงานสอบสวนนั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการยุติธรรม หากกระบวนการเริ่มต้นมีปัญหาก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหาและส่งผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวมได้ ทั้งนี้การสอบสวนจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายที่ให้พนักงานสอบสวนมีความรับผิดในฐานะที่เป็นผู้ผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมเริ่มต้น หากเกิดกรณีที่พนักงานสอบสวนละเลยโดยมิได้เกิดจากการจงใจหรือเจตนาหรือกลั่นแกล้งบุคคลใดในการรวบรวมพยานหลักฐานไม่ครบถ้วน หรือผิดไปจากความเป็นจริงเหล่านี้ ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในชั้นพิจารณาคดีหรือในชั้นฟ้องร้องได้ แม้การรวบรวมพยานหลักฐานที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนเหล่านั้นจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อที่เป็นการขัดต่อมาตรฐานวิชาชีพของพนักงานสอบสวนจะได้นำไปสู่การดำเนินการทางวินัยตามพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 แล้วก็ตาม แต่เมื่อผู้ต้องหาได้รับผลกระทบจากการดำเนินการของพนักงานสอบสวนที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อนั้น ซึ่งในบางคดีหรือในคดีบางเรื่องนั้นไม่จำต้องถูกฟ้องแต่เมื่อพนักงานสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานบางอย่างไปด้วยความประมาทเลินเล่อจนทำให้ถูกฟ้องได้ เช่น การหลงลืมไม่สืบค้นประวัติอาชญากรรม การละเลยที่จะสืบพยานบุคคลที่ผู้ต้องหานำเสนอหรือการอาศัยเพียงคำซัดทอดของผู้ต้องหาด้วยกัน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อทำให้ผู้ถูกกล่าวหานั้นไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการดังกล่าว

            จากการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539          บัญญัติเฉพาะการประมาณเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น ดังนั้นจึงยังไม่สามารถนำมาบังคับใช้ได้อย่างครอบคลุมถึงพฤติกรรมของพนักงานสอบสวนที่ประมาทเลินเล่อในการใช้อำนาจในการปฏิบัติหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกกล่าวหา ดังนั้น ผู้ศึกษาเห็นควรปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  มาตรา 8/1 เพื่อให้เกิดประโยชน์แห่งความเป็นธรรมในทางกฎหมายอย่างสูงสุดให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญาต่อไป


Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.