ศึกษาวิเคราะห์การคิดเชิงบวกในการพัฒนาชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาการคิดเชิงบวก (โยนิโสมนสิการ) ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) วิเคราะห์การคิดเชิงบวกกับการพัฒนาชีวิตตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การคิดเชิงบวกหรือโยนิโสมนสิการตามแนวทางของพระพุทธศาสนา หมายถึงการคิดเพื่อพัฒนาชีวิตไปสู่ความสุข โดยอาศัยหลักธรรมสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาชีวิตก็คือหลักไตรสิกขาอันประกอบด้วยอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขาและอธิปัญญาสิกขา โยนิโสมนสิการ ประกอบด้วยวิธีคิด ๑๐ วิธี ได้แก่ ๑.วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย ๒.วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ ๓.วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา ๔.วิธีคิดแบบอริยสัจ ๕.วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ ๖.วิธีคิดแบบเห็นคุณเห็นโทษแล้วหาทางออก ๗.วิธีคิดแบบ วิภัชชวาท ๘. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม ๙.วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม ๑๐.วิธีคิดแบบมีสติเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน นั้นคือจุดเริ่มแรกของการเข้าสู่ระบบหลักธรรมทั้งหมดของพระพุทธศาสนา เพราะก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ เมื่อมีสัมมาทิฎฐิก็สามารถถึงซึ่งอริยมรรควิธีอื่นๆ ที่เป็นหนทางแห่งความดับทุกข์
จากการวิเคราะห์การคิดเชิงบวกกับการพัฒนาชีวิต โยนิโสมนสิการมีความสำคัญต่อการพัฒนาชีวิต ในการเข้าถึงความจริงแห่งชีวิตและโลก เป็นผู้ไม่ประมาทอย่างถึงที่สุด มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้พระพุทธศาสนากำหนดแนวทางของการพัฒนาชีวิตหรือเรียกว่า การภาวนา เป็น ๔ แนวทาง ได้แก่ การพัฒนากาย การพัฒนาศีล การพัฒนาจิตและการพัฒนาปัญญา บุคคลผู้สามารถพัฒนาชีวิตทั้ง ๔ แนวทาง จะมีคุณสมบัติของผู้มีสุขภาพกายดี (ภาวิตกาย) สามารถอยู่ร่วมกันกับคนอื่นในสังคมเป็นอย่างดี (ภาวิตศีล) มีสุขภาพจิตดีคือมีจิตตั้งมั่นประกอบด้วยสติ (ภาวิตจิต) และเป็นผู้มีปัญญาดีคือรู้ความจริงของชีวิตและโลก (ภาวิตปัญญา) เมื่อรู้ความจริงดังกล่าวจึงวางตนและวางจิตของตนอย่างถูกต้อง ทำให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.