ความคิดเห็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว : กรณีศึกษา บ่อนํ้าพุร้อนบ้านพรรั้ง จังหวัดระนอง
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นที่มีต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อน กรณีศึกษาบ่อน้ำพุร้อนพรรั้ง 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อน กรณีศึกษาบ่อน้ำพุร้อนพรรั้ง จำแนกตามประชากรศาสตร์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคลากรด้านยุทธศาสตร์และประชากรที่อาศัยในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อนพรรั้ง จำนวน 459 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่ (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one – way anova)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นที่มีต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้ำพุร้อน กรณีศึกษาบ่อน้ำพุร้อนพรรั้ง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (4.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เป็นไปตามลำดับ คือ ด้านพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว (4.25) ด้านเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว (4.13) ด้านพัฒนาระบบการบริหารจัดการท่องเที่ยว (4.08) และด้านส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว (3.96)
2. ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้และอาชีพแตกต่างกันมีผลต่อระดับความคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแตกต่างกันโดยรวม
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.