การกำหนดจุดจอดรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินที่เหมาะสม กรณีศึกษา: โรงพยาบาลสกลนคร

นุจิรา กองทรัพย์

Abstract


โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการกำหนดจุดจอดรถบริการการแพทย์ฉุกเฉินของโรงพยาบาลสกลนคร โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากโรงพยาบาลสกลนคร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 ได้แก่ ปริมาณความต้องการรับบริการ ตำแหน่งของจุดเกิดเหตุ และตำแหน่งจุดจอดรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยโรงพยาบาลสกลนครได้กำหนดให้รถบริการการแพทย์ฉุกเฉินต้องออกจากจุดจอดรถ ไปถึงที่เกิดเหตุภายในเวลามาตรฐาน (Standard Response Time) เท่ากับ 8 นาที ในเขตรัศมี 10 กม. โดยงานวิจัยนีผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้โปรแกรม Google Earth เพื่อระบุตำแหน่งในพิกัดกริดแบบยูทีเอ็ม (UTM Coordinates) ของจุดเกิดเหตุแต่ละจุด, โปรแกรม Quantum GIS ทำการระบุตำแหน่งของจุดเกิดเหตุลงไปบนแผนทีของอำเภอเมืองสกลนคร และวิธีจุดศูนย์กลาง (Center of Gravity Method) เพือคำนวณหาพิกัด (x,y)ทีเป็นจุดจอดใหม่ จากการศึกษาแนวทางของจุดจอดรถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยพิจารณาจากสายเรียกเข้า ทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของจุดจอดเดิมที่มีอยู่ ในปัจจุบัน 13 จุด ซึ่งมีจุดจอดไว้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลของแต่ละตำบล และจุดจอดใหม่ ทีคำนวณได้จากวิธีหาจุดศูนย์กลางโดยพิจารณาเฉพาะปริมาณสายเรียกเข้า พบว่าได้จุดจอดใหม่จำนวน 11 จุด ในพื้นที่ บ้านฮางโฮง บ้านห้วยยาง บ้านนายอ บ้านตุงตังค์ บ้านธาตุนาเวง บ้านดงชน บ้านธาตุเชิงชุม บ้านพาน หมู่บ้านเจริญสุขวิลเลจ บ้านนากับแก้ และ บ้านหนองลาด สามารถครอบคลุมพื้นที่บริการสายเรียกเข้าจากผู้รับบริการ ภายในระยะเวลา 8 นาที ตามเวลามาตรฐานของโรงพยาบาลสกลนคร ได้ถึง 4,982 สาย ซึงเพิมขึน 24% จากเดิม 3,781 สาย


Keywords


รถบริการการแพทย์ฉุกเฉิน, เวลาตอบสนอง, การวางตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยบริการ

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.