การศึกษาประสิทธิภาพการบำบัดนํ้าเสียปนเปื้อนสีสังเคราะห์จากโรงงานฟอกย้อม โดยใช้ระบบเยื่อกรองชีวภาพร่วมกับถ่านกัมมันต์

สุภาภรณ์ ทิวาวรรณ์

Abstract


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยใช้นํ้าเสียสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายนํ้าเสียจากโรงงานฟอกย้อม และใช้ชุดทดลองระดับห้องปฏิบัติการ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างระบบ MBR และ MBR-PAC รวมถึงเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการเติม PAC แบบเติมครั้งเดียวและแบบต่อเนื่อง โดยทำการทดลอง 4 ชุดการทดลอง ได้แก่ 1)ไม่เติม PAC, 2) เติม PAC แบบเติมครั้งเดียวความเข้มข้น 1,000 mg/L, 3) เติมPAC แบบเติมครั้งเดียว ความเข้มข้น 2,000 mg/L และ 4) ทำการเติม PAC แบบต่อเนื่องลงในถังปฏิกรณ์ที่ 3 โดยควบคุมอายุ PAC เท่ากับ 50 วัน สามารถสรุปผลการทดลองได้ดังนี้
การเติม PAC ช่วยทำให้ประสิทธิภาพการบำบัด COD ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพเฉลี่ยเท่ากับ 87.42 (±9.14), 91.23 (±3.41) และ 96.51 (±1.59) สำหรับระบบ MBR และ MBR-PAC ที่มีการเติม PAC 1,000 และ 2,000 mg/L ตามลำดับ สำหรับการบำบัดสีในการเดินระบบระยะยาวพบว่า การเติม PAC 2,000 mg/L มีประสิทธิภาพในการบำบัดสี 74.99 (±6.04) % ซึ่งได้ดีกว่ากรณีเติม PAC 1,000 mg/L และ ระบบ MBR ที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสี 52.11 (±6.94) และ 47.61 (±8.40) % ตามลำดับ ส่วนการเติมถ่านแบบต่อเนื่องโดยควบคุมอายุของ PAC เท่ากับ 50 วัน ไม่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดเมื่อเปรียบเทียบกับการเติมถ่านแบบครั้งเดียว


Keywords


นํ้าเสียฟอกย้อม; ถ่านกัมมันต์; ระบบเยื่อกรองชีวภาพ

Full Text:

PDF

Refbacks

  • There are currently no refbacks.