อาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชต้นทุนตํ่าเพื่อการขยายพันธุ์หญ้าหวาน
Abstract
การศึกษาผลของอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่เตรียมจากสารละลายธาตุอาหารสำหรับปลูกพืช โดยไม่ใช้ดิน ร่วมกับเครื่องดื่มชูกำลัง หรือเครื่องดื่มผสมวิตามิน 3 ชนิด โดยการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนข้อของหญ้าหวาน บนอาหารวุ้นที่ประกอบด้วย สารละลายธาตุอาหารปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินชื่อทางการค้า Hydro work (HW) สูตรสำหรับผักสลัด stock A และ B ความเข้มข้นอย่างละ 5 ml/Lนํ้าตาลซูโครส 30 กรัมต่อลิตร และเติมกระทิงแดง หรือ M 150 หรือ Vitamix v 500 ความเข้มข้น 0, 5, 10 และ 15 ml/Lรวม 10 ชุด การทดลอง ชุดการทดลองละ 30 ซํ้า เพาะเลี้ยงในสภาพให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าอาหารวุ้นสูตร HW ร่วมกับ Vitamix v 500 ความเข้มข้น 5 มิลลิลิตรต่อลิตรให้ต้นอ่อน มีการเจริญเติบโตสูงที่สุด ทั้งจำนวนยอด จำนวนใบ จำนวนรากและ ความสูงของยอด แสดงให้เห็นว่าอาหาร วุ้นสูตรดังกล่าว สามารถใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อการขยายพันธุ์หญ้าหวานได้ด้วยต้นทุนที่ตํ่า และ วิธีการเตรียมที่ง่าย เหมาะสมที่จะส่งเสริมให้กับเกษตรกร และชุมชนต่าง ๆ เพื่อใช้ผลิตต้นพันธุ์หญ้าหวานเพื่อการค้าต่อไป
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์. (2556). ผลของนํ้ายาฟอกผ้าขาวต่อการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อม่วงเทพรัตน์. Rajabhat Journal of Science, Humanities & Social Science. 14(2), 34-43.
กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์. (2556). ผลของไทเดียซูรอนต่อการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนข้อของหญ้าหวาน. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10, 2232-2239.
พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง อภิชาติ ชิดบุรีและยุทธนา เขาสุเมรุ. (2551). ศักยภาพของสารทดแทนธาตุอาหารและวิตามินในสูตรอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช วารสารวิทยาศาสตร์การเกษตร. 39(3), 528-531.
ศิวพงศ์ จำรัสพันธุ์. (2546). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. อุดรธานี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันราชภัฏอุดรธานี.
สุกัลยา ศิริฟองนุกูล เพชรรัตน์ จันทรทิณ และเสริมศิริ จันทร์เปรม. (2549). สูตรอาหารอย่างง่ายสำหรับเพาะเลี้ยง hairy root ของเจตมูลเพลิงแดงเพื่อผลิตสารพลัมบากิน. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 37 (3), 249-256.
Ahmed, B. M., Salahin, M., Karim, R., Razvy, M.A., Hannan, M.M., Sultana, R., Hossain, M. & Islam,
R. (2007). An Efficient Method for in vitro Clonal Propagation of a Newly Introduced Sweetener Plant (Stevia rebaudiana Bertoni.) in Bangladesh. American-Eurasian Journal of Scientific Research. 2(2), 121-125.
Chotikadachanarong K. & Dheeranupattana S. (2013). Micropropagation and acclimatization of Stevia rebaudiana Bertoni. Pakistan Journal of Biological Sciences. 16(7), 887-890.
Miyazaki, Y. & Wantenabe, H. (1974). Studies on the cultivation of Stevia rebaudiana Bertoni; on the propagation of the plant (English abstr.). Jap. J. Trop. Agric. 17,154 - 157.
Refbacks
- There are currently no refbacks.