ศักยภาพในการก่อกำเนิดภาระมลพิษทางนํ้าของท้องถิ่น จังหวัดฉะเชิงเทรา

เทอดพงศ์ ศรีสุขพันธุ์

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินศักยภาพในการก่อกำเนิดภาระมลพิษทางนํ้าจากชุมชนของท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยพิจารณาจาก 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) พื้นที่ที่มีปริมาณภาระมลพิษเกิดขึ้นในปัจจุบันสูง 2) พื้นที่ที่มีความหนาแน่นของแหล่งกำเนิดมลพิษมาก 3) พื้นที่ที่มีแนวโน้มในการเพิ่มขึ้นของภาระมลพิษอนาคตสูง 4) พื้นที่ที่มีในพื้นที่มีแหล่งนํ้าผิวดินที่มีคุณภาพตํ่า และ 5) พื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแม่นํ้าบางปะกง
ผลการศึกษาสรุปได้ว่า อ.เมืองฉะเชิงเทราเป็นอำเภอที่มีปริมาณภาระมลพิษทางนํ้าในปัจจุบันและมีแนวโน้มของการเพิ่มปริมาณภาระมลพิษในอนาคตสูงที่สุด ส่วนอ.บางปะกงมีความหนาแน่นแหล่งกำเนิดภาระมลพิษสูงที่สุด และเมื่อพิจารณาคุณภาพของแหล่งนํ้าผิวดิน พบว่า คลองฉะบัง คลองบ้านโพธิ์ และคลองท่าไข่ เป็นแหล่งนํ้าที่มีคุณภาพตํ่าต้องได้รับการปรับปรุงอย่างเร่งด่วน และอำเภอในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีพื้นที่ติดกับแม่นํ้าบางปะกง ได้แก่ อ.เมืองฉะเชิงเทรา อ.บางคล้า อ.บางนํ้าเปรี้ยว อ.บางปะกง อ.บ้านโพธิ์และอ.คลองเขื่อน สำหรับพื้นที่ที่มีศักยภาพในการก่อกำเนิดมลพิษทางนํ้าสูงที่สุด 2 ลำดับแรก ได้แก่ กทม.ฉะเชิงเทรา และ อบต.ท่าไข่ ได้รับคะแนน 78 และ 74 คะแนน ตามลำดับ


Keywords


ภาระมลพิษทางนํ้า; คุณภาพนํ้า; จังหวัดฉะเชิงเทรา

Full Text:

PDF

References


กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2557). ข้อมูลสถิติจำนวนประชากร. สืบค้นเมื่อ พฤษภาคม 2557, จาก www.dopa.go.th.

กรมควบคุมมลพิษ (2537). ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง กำหนดประเภทของแหล่งนํ้าในแม่นํ้าบางปะกง แม่นํ้านครนายก และแม่นํ้าปราจีนบุรี. กรุงเทพฯ.

กรมควบคุมมลพิษ. (2556). รายงานสถานการณ์คุณภาพนํ้าประจำปี 2555. กรุงเทพฯ.

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2537). ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (2537) เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพนํ้าในแหล่งนํ้าผิวดิน. กรุงเทพฯ.

จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2556). แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประจำปีงบประมาณ 2556. ฉะเชิงเทรา.

จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2557). รายงานฉบับสุดท้าย (Final Report) โครงการจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรนํ้าแบบบูรณาการ จังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา.

วราภรณ์ ทนงศักดิ์. (2547). การประเมินภาระมลพิษในลุ่มนํ้าแม่กลอง. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการลุ่มนํ้าและสิ่งแวดล้อม คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี. (2554). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจ้างที่ปรึกษาศึกษา ความเป็นไปได้ระบบรวบรวมและบำบัดนํ้าเสียที่เหมาะสมกับ จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.