พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง ศึกษาระดับพฤติกรรมการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาและการจัดการความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง และศึกษาความแตกต่างของเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาที่เป็นโรคกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง จำนวน 160 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ t-test และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
( = 2.29, S.D.= 0.21) เมื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยง ตามความแตกต่างของ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาที่เป็นโรค พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานในกลุ่มเสี่ยงที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาที่เป็นโรคแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Keywords
Full Text:
PDFReferences
กฤษณา คำลอยฟ้า. (2554) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิก
โรคเบาหวาน โรงพยาบาลแก้งสนามนาง อำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา.
นครราชสีมา : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา.
ฉายศรี สุพรศิลป์. (2552) การประเมินความสามารถในการจัดการการป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข [ออนไลน์] แหล่งที่มา : www.thaincd.com (10 พฤศจิกายน 2556)
ชนาธิป ศรีพรหม. (2550) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี.อุบลราชธานี. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุบลราชธานี.
ชุติมา ลีลาอุดมลิปิ. (2552) “พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลห้วยผึ้งจังหวัดกาฬสินธุ์”. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. ปีที่ 2 (ฉบับที่ 1) [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://rdhsj.moph.go.th/ojs2/index.php/rdhsj/article/view/30/32 (28 กุมพาพันธ์ 2557)
ดวงใจ เอี่ยมจ้อย เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ กวินนา ขันตะ เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ ที่โรงพยาบาลบางจาก
เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2556.
ธิดารัตน์ ถิ่นแก้ว. (2555) ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วิจัย สบ. (สาขาวิชาการจัดการโรงพยาบาล) สมุทรปราการ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ธิติ สนับบุญ. (2549) การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ลักษณ์.
ธิติมาส หอมเทศ. (2555) พฤติกรรมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
นันทวัน หมื่นทอง และคณะ. (2552) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิด
ไม่พึ่งอินซูลินในตำบลหนองหลวง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร. สกลนคร :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. [PDF เอกสารออนไลน์] แหล่งที่มา : http://cph.snru.ac.th (28 กุมพาพันธ์ 2557)
นัชรี สุขเกษม. (2554) การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา. รายงานการศึกษาวิจัย :
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา.
มงคลชัย แก้วเอี่ยม. (2550) การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ตำบลหนองกลางนา จังหวัดราชบุรี. นครปฐม : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. [PDF เอกสารออนไลน์] แหล่งที่มา :
http:// ps.npru.ac.th/health/wp- content/uploads/2008/03/binder21.pdf
(28 กุมพาพันธ์ 2557)
วิชัย เทียนถวาย. (2555) "ทั่วโลก : ทุก 8 วินาทีมีคนตาย1คน เบาหวานเรื่องไม่เบา ที่เราต้องรู้" [ออนไลน์] แหล่งที่มา : www.hfocus.org/content /2012/10/1389 (21พฤศจิกายน2556)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2554) “เวชปฏิบัติที่ดีทางคลินิกเรื่องโรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus)” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : www.nhso.go.th/Appendixs_tcen_D
(23พฤศจิกายน2556)
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2555) “จำนวนและอัตราผู้ป่วยในด้วยโรคเบาหวาน (ราย) ปี พ.ศ. 2544-2555” [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php
(20 พฤศจิกายน 2556)
Orem, D.E. (2001) Nursing : Concepts of practice. St. Louis : Mosby Year Book. อ้างถึงในธิติมาศ
หอมเทศ. (2555) พฤติกรรมสุขภาพ. สมุทรปราการ : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิม
พระเกียรติ.
Refbacks
- There are currently no refbacks.