การประยุกต์ระบบตรวจสอบการเข้า – ออก รถยนต์ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราสีมา

วิษณุ สุวรรณวงศ์, รุ่งโรจน์ พงศ์กิจวิทูร

Abstract


จากปัญหาการโจรกรรมรถยนต์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นพบว่ารถยนต์ส่วนใหญ่สูญหายจากสถานที่ ห้างสรรพาสินค้า สถานที่ราชการ โรงพยาบาล เป็นต้น ทางผู้วิจัยเห็นถึงปัญหาในข้อนี้จึงพัฒนาระบบตรวจสอบการเข้า-ออก ของรถยนต์ โดยได้นำไปใช้ในหน่วยงานของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา เนื่องจากขาดความปลอดภัยในการเข้า-ออกรถยนต์ของระบบเดิมที่ใช้อยู่เป็นลักษณะการนำบัตรเข้า-ออกของรถยนต์ทำให้ไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของรถยนต์ได้ ผู้วิจัยได้นำทฤษฏีและเทคโนโลยีการแปลงไฟล์ภาพเอกสารให้เป็นไฟล์ข้อความ Optical Character Recognition (OCR) เป็นระบวนการของการแปลงสื่อสิ่งพิมพ์ให้กลายเป็นข้อความ การใช้งานเมื่อมีการนำรถยนต์เข้าจอดในลานจอดโปรแกรมจะทำการอ่านบัตรประจำตัวบาร์โค้ด และบันทึกภาพด้วยกล้องเว็บแคม (Web Cam) โดยถ่ายภาพทะเบียนรถยนต์ของผู้ขับ หลังจากนั้นโปรแกรมจะทำการประมวลผลด้วยโปรแกรมระบบ OCR หรือการแปลงภาพถ่ายให้อยู่ในรูปแบบตัวเลขและนำมาบันทึกลงฐานข้อมูล จากนั้นเมื่อมีการนำรถยนต์ออกจากลานจอดผู้ขับขี่จะนำบัตรประจำตัวยิงบาร์โค้ดและทำการถ่ายภาพทะเบียนรถยนต์อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบข้อมูลเข้าและออกว่าถูกต้องตรงกันหรือไม่ จะทำการแสดงผลว่า “ผ่านได้” หรือ “ไม่ผ่าน” และจะไม่อนุญาตให้นำรถยนต์ออกจากลานจอดรถยนต์

การวิจัยในครั้งนี้ได้นำโปรแกรมตรวจสอบการเข้า-ออก ของรถยนต์ ไปทดลองใช้งานกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาของวิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมาเป็นจำนวนทั้งสิ้น 100 คัน ซึ่งพบว่า ระบบมีประสิทธิภาพในการแปลงภาพทะเบียนรถยนต์ได้อย่างถูกต้อง โดยคิดเป็นร้อยละ 100 แต่ระบบไม่สามารถวิเคราะห์ภาพที่มีความหลากหลายของสี เช่น ทะเบียนป้ายแดง เป็นต้น


Keywords


การตรวจสอบการเข้า-ออก ของรถยนต์; Optical Character Recognition (OCR)

Full Text:

PDF

References


สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2555). สถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตัวเลขสถิติข้อมูลรถหายปี 2555. [ออนไลน์].แหล่งที่มา : http://www.royalthaipolice.go.th/

กิตติพงศ์ เงินถาวร, เชษฐพงศ์ ปาณวร, ศุภสิทธิ์ หวังไพโรจน์กิจ.(2549). ระบบตรวจสอบวัตถุด้วยการประมวลผลภาพ. โครงงานวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรการ ดวงผาสุก (2545). การรู้จําตัวอักษรภาษาไทยโดยวิธี ลักษณะเด่นของตัวอักษรและโครงข่ายประสาทเทียมแบบ ART1. วิทยานิพนธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า คุณทหารลาดกระบัง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กรุงเทพมหานคร.

วศิน สินธุภิญโญ และคณะ (2546). ระบบรักษาความปลอดภัย และคิดค่าจอดรถในที่จอดรถ.อนุสิทธิบัตรสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.

สมยศ ทองแถบ (2554). การประยุกต์ระบบตรวจสอบแบบผสมสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยลานจอดรถยนต์. ภาควิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคณะสารสนเทศศาสตร์วิทยาลัยนครราชสีมา.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.