การพัฒนาเครื่องเตือนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในบริเวณตรวจสภาพรถสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5

ธนากร ผิวจี, ศุภโยธิน ณ สงขลา

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องเตือนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ภายในบริเวณตรวจสภาพรถสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 สำหรับใช้แสดงและเตือนอันโนมัติเมื่อระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ถึงระดับที่มีผลต่อสุขภาพตามระดับของประกาศของกรมควบคุมมพิษใด้กำหนดและสามารถตั้งระดับของการเตือนใด้ วงจรที่สร้างขึ้นในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนอินพุต ซึ่งมีชุดของวงจรตรวจจับปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และชุดสวิตซสำหรับตั้งค่าเลือกการทำงานแบบอัตโนมัติหรือแบบกำหนดเอง  ส่วนที่สองเป็นส่วนประมวลผล ทำหน้าที่รับค่าข้อมูลจากส่วนอินพุตเข้ามาประมวลผลและส่งผลที่ให้ไปยังส่วนเอาท์พุต  และส่วนที่สามเป็นเอาท์พุตจะประกอบด้วยชุดจอแสดงผลด้วย LED และ led-7-segment ซึ่งจะแสดงค่าการตั้งค่าการแจ้งเตือนและค่าปริมาณก็กาศคาร์บอนมอนอกไซด์ในช่วง 10 ถึง 99 ppm และชุดวงจรเตือนเมื่อระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ถึงระดับของประกาศของกรมควบคุมมพิษใด้กำหนดในโหมดอัตโนมัติหรือเตือนเมื่อระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ถึงระดับที่เกินตามค่าที่ตั้งไว้ในโหมดตั้งค่าเอง

ผลการวิจัยพบว่า

ผลการวิจัยพบว่าวงจรที่สร้างขึ้นสามารถแจ้งเตือนเมื่อปริมาณกาศคาร์บอนมอนอกไซด์ถึงระดับที่มีผลต่อสุขภาพตามระดับของประกาศของกรมควบคุมมพิษใด้กำหนดโดยอัตโนมัติหรือเตือนเมือเกินกว่าค่าที่ใด้ตั้งค่าไว้ได้ถูกต้อง

            จากการทดลองนำเครื่องเตือนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ส้รางขึ้นไปเปลียบเทียบกับเครื่องวัดค่าปริมาณกาศคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ใด้รับมาตรฐาน พบว่าค่าปริมาณกาศคาร์บอนมอนอกไซด์ที่อ่านใด้จากเครื่องเตือนก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่สร้างขึ้นมีค่าความผิดพลาดจากการวัดน้อยกว่า 2  เปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยที่ใด้จากการวิจัยในครั้งนี้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  เพราะเป็นการเตือนแบบอัตโนมัติเมื่อปริมาณกาศคาร์บอนมอนอกไซด์ถึงระดับที่มีผลต่อสุขภาพตามระดับของประกาศของกรมควบคุมมพิษใด้กำหนดและสามารถตั้งค่าการเตือนใด้  เป็นการลดความเสี่ยงของการใด้รับอันตรายจากกาศคาร์บอนมอนอกไซด์เข้าสู่ร่างกายถึงระดับที่มีผลต่อสุขภาพตามระดับของประกาศของกรมควบคุมมพิษใด้กำหนด


Keywords


การพัฒนา

Full Text:

PDF

References


กรมการขนส่งทางบก. (2555). การตรวจสภาพรถ. สืบค้นเมื่อ 2556, กุมภาพันธ์ 17 จาก http://www.dlt.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=3116:2012-02-13-06-29-06&catid=136:2012-02-13-03-39-51

วัชรี ชาตกิตติคุณวงศ์. (2542). การควบคุมมลพิษในสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.

รำไพ สมบูรณ์ทรัพย์. (2541). การศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการตำรวจนครบาล 7. ภาคนิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์รวมข้อมูล ศูนย์รวมสถิติ เกี่ยวกับการประกันภัยรถยนต์. (2555). จำนวนรถจดทะเบียน (สะสม) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 2556, เมษายน 17 จาก http://www.insure.co.th/index.php/2010-07-19-04-16-36/stat-land-transport/4269--31-2555

แสงเพ็ชร งอนชัยภูมิ. (2548). วงจรเตือนอันตรายจากปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกินพิกัดภายในอาคารจอดรถ. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อรรถพล บุญยะโภคา และ ชัยวัตน์ ลิ้มพรจิตรวิลัย. (2547). เอกสารประกอบการใช้งานและการทดลอง PSoC Microcontroller. กรุงเทพฯ: บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด.

Oleksandr karpin. (2005) Lock – in Milliohmmeter, Cypress Semiconductor. U.S.A.:Aplication Note AN2207

สำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง. (2554). รู้รอบทิศ มลพิษทางอากาศ. กรุงเทพฯ : หจก.กชกร พับลิชชิง.


Refbacks

  • There are currently no refbacks.