แนวทางการจัดการเทคโนโลยีของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 ในการจัดเก็บภาษี

โชครัช แก้วเหมือน, สมเกียรติ กอบัวแก้ว

Abstract


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเทคโนโลยีของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 ในการจัดเก็บภาษี โดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการทำงานที่กรมสรรสามิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือกลุ่มบุคลากรในสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 จำนวน 169 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยน้ำหนัก ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน              การเปรียบเทียบความแตกต่าง  t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (oneway-ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีของเชฟเฟ (Scheffe’s method)          

ผลการวิจัยพบว่า

แนวทางการจัดการเทคโนโลยีของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 ในการจัดเก็บภาษีโดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน  เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยได้ดังนี้ ด้านบริหารจัดการองค์กร รองลงมาได้แก่ ด้านบุคลากร และตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน  เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยได้ดังนี้ ด้านข้อมูลสารสนเทศ รองลงมาได้แก่ ด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก    

การเปรียบเทียบระดับการจัดการเทคโนโลยีของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 ในการจัดเก็บภาษี การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา และระยะเวลาในการทำงานที่กรมสรรพสามิตแตกต่างกัน มีระดับการจัดการเทคโนโลยี โดยรวมทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

            สรุปผลสัมภาษณ์เกี่ยวกับแนวทางการจัดการเทคโนโลยีของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 ในการจัดเก็บภาษี ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านข้อมูลสารสนเทศ และด้านการบริหารจัดการองค์กร โดยสัมภาษณ์จากบุคลากรสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 กลุ่มผู้ใช้ข้อมูลหลักเป็นเพศชาย จำนวน 6 คน เพศหญิง จำนวน 4 คน อายุระหว่าง 46 ปี ขึ้นไป จำนวน 10 คน ระดับการศึกษาสูงสุดคือปริญญาตรี จำนวน 7  คน สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน  3 คน และอายุการทำงาน 11-20 ปี จำนวน 10  โดยสัมภาษณ์จากบุคลากรสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 ได้แก่ ผู้บริหารในตำแหน่งผู้อำนวยการ 7 ท่าน และหัวหน้าฝ่าย จำนวน 3 ท่าน ได้แนวทางแนวทางการจัดการเทคโนโลยีของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 ในการจัดเก็บภาษี ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านข้อมูลสารสนเทศ และด้านการบริหารจัดการองค์กร ควรจัดทำโครงการด้านเทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกในการสื่อสารเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาด้านบุคลากร และควรพัฒนาให้มีการวางแผนการฝึกอบรม การจัดซื้อเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงแจ้งข่าวสารให้บุคลากรรับทราบ

Keywords


แนวทางการจัดการเทคโนโลยี

Full Text:

PDF

References


กรมสรรพสามิต. (2556). รายงานประจำปี ของกรมสรรพสามิต กรมสรรพสามิต. กรุงเทพฯ: กรมสรรพสามิต.

พนัส หันนาคินทร์. (2526). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนส.

ไพโรจน์ คชชา. (2540). สารสนเทศเพื่อการบริหาร(MIS) ด้วยโปรแกรม Access. กรุงเทพฯ:คอมแพคท์พริ้นท์.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2548). สถิติวิจัยทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

สมเกียรติ กอบัวแก้ว. (2553). เอกสารการสอน วิชา การจัดการเทคโนโลยี.กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

สำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10. (2556). รายงานประจำปี ของสำนักงานสรรพสามิตภาคที่ 10 กรมสรรพสามิต. กรุงเทพฯ: กรมสรรพสามิต.

สุพล พรหมมาพันธุ์. (2548). ระบบสารสนเทศ : กลยุทธ์ที่สำคัญสำหรับการแข่งขัน.ภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม: ลงตีพิมพ์ในวารสาร ส่งเสริมเทคโนโลยี.ฉบับที่ 178 ธันวาคม 2547 – มกราคม 2548 หน้า 172


Refbacks

  • There are currently no refbacks.