แนวทางการบริหารจัดการพัสดุของสำนักงานในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 ประเทศไทย

สุจิรา พงษ์โคกสี, รุจิรัตน์ พัฒนถาบุตร

Abstract


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษา นิยาม และให้ความหมายองค์ประกอบของการบริหารจัดการพัสดุ และ (2) เพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการพัสดุของสำนักงานในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 ประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยใช้การวิจัยเอกสาร
การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญแบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อหาตัวแปรสังเกตได้ และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบ
เชิงสำรวจ เพื่อจำแนกองค์ประกอบ ด้วยการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ผลการศึกษา พบว่า
ตัวแปรสังเกตได้ของการบริหารจัดการพัสดุที่พบบ่อยมีทั้งสิ้น 34 ตัวแปร ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นข้าราชการธุรการ เพศหญิง อายุตั้งแต่ 30 ปี - ไม่เกิน 40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี
รายได้เฉลี่ยต่อเดือนตั้งแต่ 15,000 บาท - ไม่เกิน 30,000 บาท และระยะเวลาการปฏิบัติงานตั้งแต่ 3 ปี -
ไม่เกิน 6 ปี สามารถจำแนกองค์ประกอบของการบริหารจัดการพัสดุ ได้ 3 องค์ประกอบ ดังนี้ (1) กระบวนการบริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One stop service) ใช้ตัวย่อว่า “O” (2) แผนปฏิบัติการงานพัสดุ (Action plan of supply management) ใช้ตัวย่อว่า “A” และ (3) ความพร้อมของระบบบริการงานพัสดุ (Good system of supply service) ใช้ตัวย่อว่า “G” โดยองค์ประกอบทั้งหมดสามารถอธิบายแนวทางการบริหารจัดการพัสดุของสำนักงานในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 ประเทศไทย ได้ร้อยละ 71.455 และ
นำองค์ประกอบที่ได้มากำหนดเป็นแนวทางการบริหารจัดการ “OAG” ให้นิยามว่า ระบบการบริหารจัดการพัสดุที่ช่วยสนับสนุนการทำงานขององค์กร สำหรับเป็นแนวทางการบริหารจัดการพัสดุของสำนักงานในสังกัดสำนักงานอัยการภาค 4 ประเทศไทย

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**