ผลของสารสกัดใบมะรุมต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด

สุภาวดี รัตนประสิทธิ์, ธนาภรณ์ ศรีวรรธนะ, ณัฐวุธ สิบหมู่, สิรดา ศรีหิรัญ, ทิฆัมพร รองสูงเนิน, กุลพงษ์ ชัยนาม

Abstract


บทนำ: กระบวนการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) ที่มากขึ้นเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด มะรุมเป็นพืชเขตร้อนที่มีประโยชน์สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย พบว่าใบมะรุมมีสารประกอบฟีนอลิกจำนวนมากที่อาจมีผลต่อกระบวนการณ์การเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาผลของสารสกัดจากใบมะรุมต่อการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด และหาความเข้มข้นของสารสกัดจากใบมะรุมที่เหมาะสมต่อการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด

วิธีการศึกษา: การศึกษาในหลอดทดลองนี้ ได้ทำการเก็บตัวอย่างเลือดในอาสาสมัครสุขภาพดีเพศหญิง 5 คน จากนั้นเก็บและเตรียมเกล็ดเลือดโดยวิธีมาตรฐาน การวัดการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดใช้วิธีการวัดความขุ่นของเกล็ดเลือดผ่านเครื่องแอ็กกรีโกมิเตอร์ (aggregometer) โดยการศึกษานี้ใช้สารเป็นตัวการกระตุ้นเกล็ดเลือดได้แก่ คอลลาเจน และ กรดอะราคิโดนิก

ผลการทดลอง: เมื่อบ่มเกล็ดเลือดด้วยสารสกัดจากใบมะรุมที่ความเข้มข้น 5, 50, 100 และ 200 ไมโครกรัมต่อมล. พบว่า ร้อยละการยับยั้งการเกาะกลุ่ม (EC50) เมื่อใช้คอลลาเจนเป็นตัวกระตุ้นเกล็ดเลือดอยู่ที่ 15.93, 61.08, 71.43 และ 87.27 ตามลำดับ และอยู่ที่ 6.74, 37.54, 71.12 และ 96.29 ตามลำดับ เมื่อใช้กรดอะราคิโดนิกเป็นตัวกระตุ้นเกล็ดเลือด และยังพบว่าร้อยละของการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับระหว่างความเข้มข้นของสารสกัดใบมะรุมที่ 5, 50, 100 และ 200 ไมโครกรัมต่อมล. กับตัวอย่างควบคุม (สารสกัดจากใบมะรุม 0  ไมโครกรัมต่อมล.) ในตัวกระตุ้นทั้ง 2 ชนิด โดยสารสกัดใบมะรุมมีค่า IC50 อยู่ที่ 50.97±9.00 และ 66.94±15.99 ไมโครกรัมต่อมล. เมื่อใช้คอลลาเจนและกรดอะราคิโดนิกในการกระตุ้นเกล็ดเลือด ตามลำดับ

สรุปการทดลอง: สารสกัดใบมะรุมสามารถยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดได้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยคอลลาเจนและกรดอะราคิโดนิก อย่างไรก็ควรมีการศึกษาในหลอดทดลองที่มีทั้งกลุ่มควบคุมแบบบวกและควบคุมแบบลบเพิ่ม และการศึกษาทางคลินิกเพื่อยืนยันผลของสารสกัดจากใบมะรุมต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดต่อไป

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**