ทักษะการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7

หทัยชนก วีสกุล, กัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์

Abstract


บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 รูปแบบการเจรจาต่อรองในอดีตนั้น คู่เจรจทั้งสองฝ่ายจะกำหนดจุดยืนของตนเองจากนั้นก็พยายามรกษาจุดยืนดังกล่าวไปพร้อมๆ กับพยายามทำให้ฝ่ายตรงข้ามยอมถอยให้ ผลสุดท้ายทั้งสองฝ่ายอาจจะร่วมมือกันทำให้การเจรจาต่อรองประสบผลสำเร็จหรืออาจจะแตกหักกันไปเลยก็ได้ การเจรจาแบบนี้มีข้อเสียค่อนข้างมาก เช่น ยากต่อการที่คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายจะบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีประสิทธิภาพต่ำ อีกทั้งยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่เจรจาเอาไว้ เพราะผู้เจรจามักจะมองว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรู สิ่งสำคัญประการหนึ่งซึ่งนักเจรจาต่อรองที่ดีต้องตระหนักคือก่อนการเจรจาต่อรองทุกครั้งต้องมีการเตรียมการในด้านต่างๆ ให้พร้อมไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวัตุประสงค์ มาตรฐานขั้นต่ำที่สามารถยอมรับได้ การศึกษารวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่จะเจรจา การประเมินตนเอง การทำความเข้าใจกับฝ่ายตรงข้าม ทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหาและวางแผนการเจรจา การกำหนดวาระการเจรจาต่อรอง การกำหนดกลยุทธ์ที่จะใช้ การคัดเลือกสมาชิกที่จะร่วมเจรจา การกำหนดเวลาและสถานที่ที่จะเจรจารวมทั้งการฝึกซ้อมร่วมกันระหว่างสมาชิกในทีม  โดยทั้งหมดจะต้องยึดหลักกัลยาณมิตรธรรม 7 เป็นสำคัญในการเจรจาต่อรอง

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**