การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

สุธิตา ศรีสมบัติ, อรณิชชา ทศตา

Abstract


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนแบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบย่อยอาหารของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนแบบสืบเสาะ 5E และแบบฝึกทักษะ หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนเพชรราษฎร์สามัคคี อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวนนักเรียน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนแบบสืบเสาะ 5E ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 3 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  เป็นแบบปรนัย จำนวน 6 จำนวน 20 ข้อเป็นแบบทดสอบเป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้ค่าสถิติ t-test dependent และ t-test One Sample  ผลการวิจัยพบว่า  1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับแบบฝึกทักษะ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบย่อยอาหารของมนุษย์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5E ร่วมกับแบบฝึกทักษะ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**