ผู้หญิงขายไข่กับวาทกรรมปิตาธิปไตยและมายาคติเกี่ยวกับคนไทยและจีนในอเมริกา
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะวาทกรรมปิตาธิปไตยและมายาคติเกี่ยวกับคนไทยในอเมริกาผ่านนวนิยาย ผู้หญิงขายไข่ โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีการวิจารณ์แนวเพศสถานะ (Gender Criticism) ร่วมกับแนวคิดเกี่ยวกับมายาคติของโรล็องด์ บาร์ตส์ ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมปิตาธิปไตยปรากฏลักษณะผู้ชายเป็นเพศที่ใช้ความคิดและเหตุผล ผู้หญิงใช้อารมณ์และสัญชาตญาณ ภาพเสนอผู้หญิงที่ได้รับการยอมรับมีลักษณะโน้มเอียงไปในแนวจารีตค่อนข้างมาก การสร้างภาพความพอใจของนางเอกต่อการเปลี่ยนสู่บทบาทความเป็น “เมีย” และ “แม่” มากล้นถึงขนาดยินดีที่จะละทิ้งการทำงานใช้ความรู้ที่เรียนมา การลดทอนภาพอันพึงปรารถนาของผู้หญิงเก่งนอกบ้าน อุบายหรือแผนการหลอกล่อเพื่อพิชิตใจหญิงสาวในเรื่องถูกทำให้เป็นเรื่องน่าพอใจและเป็นความสำเร็จของฝ่ายชาย อย่างไรก็ตามภาพแห่งความสุขมิได้ดำเนินควบคู่ไปกับความก้าวหน้าด้านอื่น ๆ ของผู้หญิงเท่าที่ควร มายาคติเกี่ยวกับคนไทยและจีนในอเมริกาถูกประกอบสร้างให้สามารถสร้างชีวิตที่ดีขึ้นได้เมื่อมาอยู่ในประเทศอเมริกา คนไทยสามารถประสบความสำเร็จในสังคมแถวหน้าของอเมริกา คนจีนสามารถเลี้ยงดูภรรยาคนไทยในอเมริกาได้เป็นอย่างดี จากภาพนำเสนอดังกล่าวได้สร้างวาทกรรมว่าความล้มเหลวของคนไทยและจีนในอเมริกามิได้เป็นผลจากระบบโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรมในอเมริกาแต่เป็นผลจากวิถีปัจเจกบุคคลเอง
Full Text:
UntitledRefbacks
- There are currently no refbacks.
**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**