การบริหารนโยบายสาธารณะแนวใหม่: กรณีเมืองโคราช

ภัทราพร รอดบุญเกิด, วรวิทย์ จินดาพล

Abstract


จังหวัดนครราชสีมา นำแนวคิดการจัดการปกครองสาธารณะแนวใหม่ (New Public Governance) มาใช้การดำเนินการตามแนวทางนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “โคราชโมเดล” จากการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้นำโครงการ เอกสารต่าง ๆ และจากการสังเกตุการของผู้วิจัย พบว่าโคราชโมเดลอิงอยู่บนหลักการของแนวคิดการบริหารนโยบายสาธารณะแนวใหม่ ผ่านการสร้างความร่วมมือของ 5 ภาคส่วน อันได้แก่ สถานศึกษา ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและสื่อ และประชาชน ภายใต้แนวคิด Quintuple Helix model ทั้ง 5 ภาคส่วนนี้ได้ร่วมกันปรึกษาและหาช่องทางในการผลักดันให้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้ารางเบาของจังหวัดนครราชสีมา ที่เกิดจากการระดมทรัพยากรและร่วมกันลงทุน โดยการเสริมสร้างและกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ทำให้โครงการนี้ได้รับการอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีอย่างไรก็ดี ณ เวลานี้โครงการนี้ยังไม่สามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้เพราะต้องรอคอยการอนุมัติโดยหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นจากส่วนกลางที่มีอำนาจเฉพาะตามกฎหมาย แต่อย่างไรก็ดี บทเรียนที่ได้จากโครงการนี้คือ รูปแบบในการร่วมมือกันเพื่อริเริ่มและกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**