การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิดของครูและนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

นวพร ชลารักษ์, ภัสราภรณ์ นันตากาศ, รินทร์ลภัส ศิรินพวัฒน์

Abstract


การวิจัยดำเนินการเป็น 3 ระยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดกิจกรรมด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิดของครูและนักเรียน โรงเรียนเครือข่ายการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) พัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิด 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิด กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนเครือข่ายฯ จำนวน 19 คน ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเครือข่ายฯ จำนวน 90 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบเป็นกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิด 2) แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบ และ 3) แบบวัดศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิต รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประเมินความต้องการจำเป็นตามสูตร (Priority Need Index: PNIModifiedX) และการหาค่าสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นความต้องการจำเป็นอันดับที่ 1 2) รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิด ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการของรูปแบบ 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3. ขั้นตอนการจัดกิจกรรม แบ่งเป็น 7 ขั้น (1) ขั้นนำเสนอสถานการณ์ (2) ขั้นคิดพิจารณา (3) ขั้นคิดสงสัย (4) ขั้นสนทนาแลกเปลี่ยนความคิด (5) ขั้นนำเสนอความคิด (6) ขั้นสรุปความคิดร่วมกัน และ (7) ขั้นสะท้อนคิด 4. บทบาทผู้เรียน 5. บทบาทครู และ 6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีความถูกต้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมศักยภาพด้านวิชาการและทักษะชีวิตโดยใช้ทักษะกระบวนการคิด นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Full Text:

Untitled

Refbacks

  • There are currently no refbacks.


**ไม่สามารถแก้ไขบทความ Proceeding online ทุกกรณี**